The Prachakorn

การนำกระบวนการเลือกตั้งขั้นต้นมาใช้ในประเทศไทย


14 กรกฎาคม 2564
503



คุณปุรวิชญ์ วัฒนสุข
นักวิชาการ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

การสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่สำคัญของพรรคการเมือง เพราะเป็นกระบวนการที่บ่งบอกถึงหลักการของความเป็นประชาธิปไตยในเชิงปฏิบัติการจริงในกระบวนการเลือกตั้ง ที่ส่งผลตั้งแต่ในระดับองค์กรพรรคการเมือง จนไปถึงการแข่งขันในการเลือกตั้งที่สะท้อนประชาธิปไตยของประเทศ เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สามารถสร้างเสริมให้เกิด "ประชาธิปไตยภายในพรรคการเมือง" (intra-party democracy)  ได้ ในประเทศไทยนั้น ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ได้กำหนดให้พรรคการเมืองต้องดำเนินการจัด “การเลือกตั้งขั้นต้น” (primary election) เพื่อสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งนี้ กระบวนการการเลือกตั้งขั้นต้นดังกล่าวผูกโยงกับเงื่อนไขที่ว่าพรรคการเมืองต้องมี “สาขาพรรคการเมือง” หรือ “ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด” ที่มีพื้นที่รับผิดชอบในเขตเลือกตั้งต่างๆ และยังต้องมีจำนวนสมาชิกพรรคที่มีภูมิลำเนาที่อยู่ในเขตเลือกตั้งนั้นตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดด้วย อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2562 ยังไม่ได้มีการนำกระบวนการเลือกตั้งขั้นต้นนี้มาใช้ เพราะถูกยกเว้นโดยคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แต่หากมีการเลือกตั้งใหม่และยังคงเป็นกติกานี้ พรรคการเมืองจะต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาว่า 1) เหตุใดระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ภายใต้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 จึงไม่สามารถปฏิบัติได้จริง และ 2) รูปแบบและกระบวนการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงในประเด็นใด ทั้งในเชิงกฎหมายและการปฏิบัติ เพื่อให้เกิด “ตัวแบบ” ที่เป็นระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยและสามารถปฏิบัติจริงได้

ชมย้อนหลังได้ที่

Facebook Watch: https://fb.watch/pY4AJ41Ee2/

ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคมได้ที่

Website: ipsr.mahidol.ac.th
Facebook: IPSRMAHIDOLUNIVERSITY



CONTRIBUTOR

Related Posts
นักการเมือง

วรชัย ทองไทย

การเลียนแบบ

วรชัย ทองไทย

รัฐประหาร ในเมียนมา

อมรา สุนทรธาดา

เจรจาชอบ

วรชัย ทองไทย

กฎหมาย

วรชัย ทองไทย

เพศหลากหลาย Happy SDG กับ ภาพจำ ที่เปลี่ยนผ่าน?

วรรณี หุตะแพทย์,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

คำขวัญวันเด็ก

สุภาณี ปลื้มเจริญ

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th