The Prachakorn

การควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กจากนานาประเทศทั่วโลก


19 เมษายน 2566
154



ดร.สุชีรา บรรลือสินธุ์ (องค์การอนามัยโลก WHO)

การควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กจากนานาประเทศทั่วโลก ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กนั้นเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน จากสถิติทั่วโลกในปี 2559 เด็กหนึ่งในห้าคนเป็นโรคอ้วน และในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กไทยนั้นเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเร่งการเพิ่มขึ้นของโรคอ้วนคือสภาพแวดล้อมทางอาหาร ซึ่งอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน โซเดียมสูง หรืออาหารแปรรูปนั้นมีการทำการตลาด และสามารถเข้าถึงได้ง่าย หลากหลาย และราคาถูก หลักฐานทางวิชาการชี้ชัดให้เห็นว่าการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มนั้นส่งผลต่อความชอบ การเลือกซื้อ และการบริโภคอาหารของเด็ก ด้วยเหตุนี้ องค์การอนามัยโลกจึงเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกดำเนินการควบคุมการทำการตลาดของอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็กอย่างครอบคลุม ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2565 มีทั้งสิ้น 60 ประเทศที่ดำเนินนโยบายควบคุมการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก ซึ่งในจำนวนนี้ 20 ประเทศมีการบังคับใช้เป็นกฏมาย และอีก 18 ประเทศบังคับใช้นโยบายดังกล่าวในโรงเรียน การดำเนินนโยบายควบคุมการทำการตลาดฯ อย่างครอบคลุมในทุกๆ ช่องทาง รวมถึงทางออนไลน์ จะช่วยลดผลกระทบและปกป้องเด็กไทยจากการทำการตลาดของอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลต่อสุขภาพเด็ก

ติดตามและรับชมย้อนหลังได้ที่ Facebook : IPSRMahidolUniversity

https://fb.watch/lK76ELwzkv/


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th