The Prachakorn

ผู้สูงอายุไทยจะอยู่ตามลำพังมากขึ้น


กาญจนา เทียนลาย

12 กันยายน 2566
435



เมื่อราว 30 ปีก่อน (ปี 2537) ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 55 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุประมาณ 8% แต่ในปัจจุบัน มีประชากรประมาณ 66 ล้านคน โดยเป็นผู้สูงอายุถึง 19% (ปี 2565) ซึ่งประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอีกไม่ช้า

เมื่อนำข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2537 จนถึงรอบการสำรวจล่าสุด มาวิเคราะห์รูปแบบการอยู่อาศัย พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า “ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังคนเดียวและผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังกับคู่สมรสเท่านั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น” โดยในปี 2564 พบว่าผู้สูงอายุอาศัยอยู่ตามลำพังกับคู่สมรสเท่านั้น เพิ่มสูงถึงประมาณ 1 ใน 4 เลยทีเดียว

รูปแบบของการอยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อการดูแลผู้สูงอายุในอนาคต จากเดิมที่จะอาศัยลูกหลานหรือคนในครอบครัวช่วยดูแลแต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้ว ดังนั้นการเตรียมรับมือกับคลื่นผู้สูงอายุที่กำลังเคลื่อนเข้าสังคมไทยในเวลาอันใกล้นี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องตื่นตัวและ ภาครัฐเองก็ควรจัดบริการที่จำเป็นเพื่อรองรับกับสถานการณ์ดังกล่าวให้เพียงพอและเหมาะสมต่อไป

แนวโน้มร้อยละผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังคนเดียวและอยู่กับคู่สมรสเท่านั้น พ.ศ. 2537-2564

ข้อมูล: การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ปี 2537, 2545, 2550, 2554, 2557, 2560 และ 2564

 


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th