The Prachakorn

ความเท่าเทียมและความเชี่ยวชาญในการประชุมสุดยอดระบบอาหารแห่งสหประชาชาติ


ปาริฉัตร นาครักษา,สิรินทร์ยา พูลเกิด

16 พฤศจิกายน 2564
439



บทความนี้เป็นแบบ commentary หรือบทความเชิงวิจารณ์ ในประเด็นความเท่าเทียมและความเชี่ยวชาญในการประชุมสุดยอดระบบอาหารแห่งสหประชาชาติ (UN Food Systems Summit, UNFSS) ที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายน ปี 2564 ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวการดำเนินการ แนวทางแก้ไข และกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย ซึ่งแต่ละเป้าหมายต้องการการเปลี่ยนแปลงในวิธีที่ผลิต บริโภค และคิดเกี่ยวกับอาหารระดับโลก

จากผลการวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงาน UNFSS ของสหประชาชาติ พบว่า UNFSS นั้นวางบทบาทและแนวทางไว้อย่างชัดเจนและกล้าหาญ แต่ยังประเด็นที่ถกเถียงอยู่เช่นกัน ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดทิศทางของระบบอาหารและสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นบทบาทของภาคธุรกิจใน UNFSS ทั้งการที่ควรกำหนดกฎระเบียบที่รัดกุมของการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจ และความโปร่งใสของ UNFSS และประเด็นสิทธิมนุษยชนและการปรับสมดุลอำนาจของผู้เกี่ยวข้องในระบบอาหารที่ยังให้ความสำคัญน้อยในเวทีนี้

บทความนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของประเด็นความเท่าเทียม ซึ่งหากจำกัดความแบบแคบๆ จะพิจารณาเพียงความไม่เท่าเทียมทางรายได้ในเชิงผลลัพธ์และความครอบคลุม แต่หากมองให้กว้างขึ้น จะรวมไปถึงว่า ทำไมความไม่เท่าเทียมดังกล่าวถึงต้องฝ่าฟันให้สำเร็จ และเป็นประเด็นที่ต้องคำนึงบริบทหรือกระบวนที่เกิดขึ้นทั้งในประวัติศาสตร์และระหว่างยุคสมัยด้วย ขณะที่ประเด็นด้านความโปร่งใสและการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคธุรกิจนั้น พบว่า กลุ่มคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของ UNFSS ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎระเบียบ เพื่อชี้ทิศทางการทำงาน (disciplinary expertise) ซึ่งจริงๆ แล้วกลุ่มนี้ยังขาดความเชี่ยวชาญด้านความเท่าเทียม สุขภาพ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือเป็นตัวแทนที่มีความรู้เกี่ยวกับชนพื้นเมือง

บทความนี้จึงเสนอแนะให้ UNFSS ปรับโครงสร้างการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการผลักดันประเด็นระบบอาหารอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคนของทุกประเทศ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ก่อนวันประชุมที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้


ที่มา

Nisbett, N., Friel, S., Aryeetey R., Gomes, F.S., Harris, J., Backholer, K., Baker, P., Jernigan V.B.B., Phulkerd, S. (2021). Equity and expertise in the UN Food Systems Summit. BMJ Global Health, 6, e006569

 



CONTRIBUTORS

Related Posts
สัจธรรมแห่งชีวิต

ปราโมทย์ ประสาทกุล

เมื่อคนสูงวัยเข้าใกล้วัด

ปราโมทย์ ประสาทกุล

ในบั้นปลายแห่งชีวิต

ปราโมทย์ ประสาทกุล

ซาลซ์บวร์ก (Salzburg) ช่วงโควิด

ขวัญชนก ใจซื่อกุล

เงิน….. งาน…… บันดาลสุขอย่างไร? ในวันที่ต้อง Work From Home

จรัมพร โห้ลำยอง,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

เด็กปฐมวัย...โอกาสทองสร้างคน

มนสิการ กาญจนะจิตรา

ส่องเทรนโลก เทรนไทย “ตลาดและคุณภาพอาหารแปรรูปสูง”

ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด

COVID-19 กับผลกระทบต่อผู้ย้ายถิ่น

สักกรินทร์ นิยมศิลป์

ออมก่อน พร้อมก่อน

วรรณี หุตะแพทย์

ส้วม

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th