คาร์ลอส ไดแอซ วัย 12 ปี กำลังเตรียมตัวเป็นนักศึกษาใหม่ที่ Mexico’s National AutonomousUniversity มหาวิทยาลัยชั้นนำของเม็กซิโก คาร์ลอสสนใจอ่านหนังสือทุกประเภท เล่นวิดิโอเกม เล่นกีฬาโปรดคือฟุตบอล แต่ที่เขาเหนือกว่าเพื่อนในวัยเดียวกันคือ สามารถสอบผ่านการคัดเลือกระดับอุดมศึกษาได้คะแนนดีกว่าผู้สมัครอื่นๆ ชนิดที่ใครก็หยุดเขาไม่อยู่ หนุ่มน้อยสุดหล่อตั้งเป้าหมายจะเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาเคมีวิเคราะห์ จุลชีวะ และชีววิทยาการแพทย์ เพราะเชื่อว่าความรู้จากวิชาเหล่านั้นจะเป็นวิธีเอาชนะและกำจัดโรคร้ายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ “ผมใฝ่ฝันที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยนี้ถ้าเขาห้ามเข้าทางประตู ผมจะปีนหน้าต่างเข้าไปเรียน”
คาร์ลอส ไดแอซ ภาพจาก: สำนักข่าว AFP
ยังมีเด็กอัจฉริยะที่น่าสนใจได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่เพื่อให้ลูกสามารถปรับตัวให้เติบโตตามวัยและพัฒนาการด้านสติปัญญา มาทำความรู้จักเจเรมี ชูลเลอร์ วัย 12 ปี อีกคนหนึ่ง
เจเรมี ชูลเลอร์ เด็กอัจฉริยะแห่งรัฐเท็กซัส เริ่มพูดได้เมื่อวัยเพียง 6 เดือน และเมื่ออายุครบขวบครึ่งก็ สามารถสื่อสารได้ 2 ภาษา คือ อังกฤษ และเกาหลี เพราะพ่อเป็นวิศวกรชาวอเมริกันส่วนแม่เป็นวิศวกรสัญชาติเกาหลี เจเรมีเรียนหนังสืออยู่ที่บ้านเพราะสนใจอ่านหนังสือด้วยตนเองจนแม่ต้องออกจากงานมาสอนหนังสือลูกที่บ้าน สอน จนหมดภูมิไม่รู้จะสอนอะไรใหม่ๆ จึงเปลี่ยนความตั้งใจให้ลูกเข้าเรียนในระบบด้วยการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย แต่ต้องสอบเทียบหลักสูตรระดับมัธยมปลายเมื่ออายุ 11 ปี เพื่อให้มีคุณสมบัติครบในการสอบคัดเลือกเข้าเรียนใน ระดับอุดมศึกษา และเจเรมีก็ทำได้ เขาสอบเข้าเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล เมื่ออายุเพียง 12 ปี เป็นคณะเดียวกับที่พ่อเรียนจบ เจเรมีวางแผนเลือกลงวิชาที่เขาสนใจเป็นพิเศษคือ คณิตศาสตร์ขั้นสูง กลศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิชาสัทศาสตร์และภาษาละติน และตั้งใจเลือกเรียนสาขาวิศวกรรมยานอวกาศเหมือนพ่อแม่ เนื่องจากเขายังเป็นเด็กเกินไปที่จะใช้ชีวิตในหอพักของมหาวิทยาลัยตามลำพังได้ พ่อแม่จึงต้องย้ายตามเพื่อ ไปดูแลลูกความไร้เดียงสาของเด็กวัย 12 ปี ที่รู้ว่าจะเป็นนักศึกษาและตื่นเต้นกับสถานะและสิ่งแวดล้อมใหม่ ต้อง เตรียมตัวหลายเรื่องเพราะตลอดชีวิตที่ผ่านมาเคยเรียนหนังสืออยู่ที่บ้านกับแม่เท่านั้น ไม่เคยมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนและ นึกภาพไม่ออกว่าการเรียนหรือสถานที่เรียนในโลกภายนอกบ้านจะเป็นเช่นไร เจเรมีจะเป็นบัณฑิตใหม่ในปี 2020 เมื่อ อายุเพียง 16 ปีเท่านั้น การเป็นเด็กอัจฉริยะมิได้หมายความว่าจะสามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติเหมือนเด็กทั่วไป จากผลงานวิจัย* หลายเรื่องมีข้อสรุปว่าเด็กอัจฉริยะมีโลกส่วนตัวสูง มักเบื่อหน่ายสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น เบื่อชั้นเรียน เพื่อน เนื้อหา และวิธีการเรียนการสอน และในที่สุดคือการไม่อยากไปโรงเรียน แม้ว่าระบบการศึกษาในยุคปัจจุบันมีหลากหลาย รูปแบบก็ตาม ความแตกต่างด้านการปรับตัวของเด็กอัจฉริยะชายและหญิงมีความซับซ้อนและละเอียดอ่อน โดยเฉพาะ อัจฉริยะหญิงเมื่อถูกเปรียบเทียบกับอัจฉริยะชายในด้านความสามารถหรือความเป็นเลิศในกลุ่มวิชา STEM** นอกเหนือจากปัญหาอื่นๆ เช่น การเข้ากลุ่มเพื่อน อคติจากกลุ่มเพื่อน ความคับข้องใจด้านภาพลักษณ์ที่ไม่มีเพื่อนต่าง เพศให้ความสนใจเหมือนเพื่อนหญิงอื่นๆ ความกังวล หรือถึงขั้นหวาดกลัวที่จะไร้เพื่อน รวมทั้งจิตใต้สำนึกที่คิดว่า ตนเองเหนือกว่าผู้อื่นด้านสติปัญญา ดังนั้นปัญหาการปรับตัวจากสาเหตุดังกล่าวต้องอาศัยผู้ใกล้ชิด เช่น ผู้ปกครอง ครู เพื่อน เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันหรือปรับเปลี่ยนทัศนคติ เช่น เน้นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อสร้างความเข้าใจให้ คุณค่า หรือชมเชยความเป็นอัจฉริยะเพื่อลดความแปลกแยกและการมีโลกส่วนตัว เป็นต้น
*อ่านผลงานวิจัยเพิ่มเติมที่ www.DavidsonGifted.org.
**หมายถึง วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) คณิตศาสตร์ (Mathematic)