The Prachakorn

การไปเที่ยวญี่ปุ่น สะท้อนอะไรในฐานะสังคมสูงวัย


กาญจนา เทียนลาย

24 ธันวาคม 2561
256



เมื่อเดือนที่แล้ว ฉันได้ไปเมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น รู้สึกประทับใจที่เห็นผู้สูงอายุจำนวนมากออกมาใช้ชีวิตข้างนอกบ้านได้อย่างสบาย ซึ่งต่างจากบ้านเรา 

ฉันพบผู้สูงอายุหลายลักษณะ เช่น ผู้ที่ใช้ไม้เท้าค้ำเดิน ผู้ที่ต้องนั่งรถเข็น ผู้ที่เป็นอัมพฤกต์ สามารถใช้ชีวิตนอกบ้านได้  ไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแล ที่เป็นเช่นนี้ได้ เพราะญี่ปุ่นมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับการใช้งานของผู้สูงอายุ เช่น ทางลาดขึ้นลง ลิฟท์ ทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตนอกบ้านได้อย่างสะดวกและปลอดภัย 

ฉันสังเกตเห็นว่ากิจกรรมที่ผู้สูงอายุนิยมทำก็ไม่แตกต่างจากคนหนุ่มสาว เช่น การท่องเที่ยว การถ่ายภาพ การวาดภาพในสวนสาธารณะ การทานอาหารนอกบ้าน นอกจากนี้ยังมีการทำกิจกรรมจิตอาสา การกวาดพื้นถนน งานบริการในสนามบินหรือสถานีรถไฟ และช่วยอำนวยการจราจรในบริเวณที่มีสิ่งกีดขวาง กิจกรรมเหล่านี้ช่วยส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุที่บ้านเราน่าจะเอามาเป็นต้นแบบ เพราะอีกไม่นานสังคมไทยก็จะเป็นสังคมสูงวัยที่ฉันคาดหวังให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยยังคงทำกิจกรรมต่างๆ ได้เอง มีความสุขไม่แพ้คนสูงอายุในญี่ปุ่น

 


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th