แหล่งข้อมูลขนาด โครงสร้างเพศและอายุของประชากรอายุ 100 ปีขึ้นไปในประเทศไทยมีอยู่เพียงแหล่งเดียว คือ ทะเบียนราษฎร ของสํานักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปัจจุบันยังมีคําถามเกิดขึ้นอยู่เสมอว่าข้อมูลจํานวนคนร้อยปีตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรจะถูกต้องเพียงไร และแท้ที่จริงแล้ว ประชากรอายุร้อยปีขึ้นไปในประเทศไทยมีอยู่ประมาณเท่าไร
จำนวนคนร้อยปีในประเทศไทยตามรายงานของทะเบียนราษฎรเมื่อ พ.ศ. 2538-2539 มีจำนวนมากกว่า 6 หมื่นคน หลังจากนั้นจำนวนคนร้อยปีขึ้นๆ ลงๆ อยู่ระหว่าง 2 หมื่น ถึง 4 หมื่นกว่าคน และได้ลดลงแบบก้าวกระโดดจนเหลือไม่ถึง 2 หมื่นคนนับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา และเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2558 เป็นจำนวน 26,000 คน ในปี 2559 จำนวนศตวรรษิกชนของประเทศไทยได้ลดลงอีกครั้งเหลือเพียงประมาณ 12,000 คน จำนวนคนร้อยปีที่ลดลงนี้ไม่ได้เป็นเพราะการตายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เป็นเพราะการปรับปรุงฐานข้อมูลคนร้อยปีโดยตรวจสอบคนร้อยปีที่มีตัวตนและนำคนที่เสียชีวิตออกจากทะเบียน จึงทำให้จำนวนคนร้อยปีในปี 2560 เหลือเพียง 15,000 คนเท่านั้น จากความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยประชากรและสังคมกับสำนักบริหารการทะเบียน ในการร่วมทำโครงการ “การศึกษาศตวรรษิกชนคนร้อยปีในประเทศไทย” อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการปรับปรุงฐานข้อมูลคนร้อยปีให้เป็นปัจจุบันก็เป็นได้
ภาพประกอบจาก https://pixabay.com