ข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล แสดงให้เห็นว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 66.4 ล้านคน เป็นผู้ชาย 32.1 ล้านคน ผู้หญิง 34.3 ล้านคนi ดูแล้วก็ใกล้เคียงกัน แต่ทราบหรือไม่ว่า “ยิ่งอายุมาก จำนวนผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชาย”
ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay
ช่วงระหว่าง 40 ปีที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนเพศเมื่อแรกเกิด มีค่าเท่ากับ 105 ซึ่งแสดงว่า ในช่วงวัยแรกเกิด สังคมไทยมีเด็กผู้ชายมากกว่าผู้หญิงii แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นก็พบว่าความแตกต่างของแบบแผนการตายและปัจจัยด้านชีววิทยาที่ทำให้ผู้ชายมีความเสี่ยงต่อการตายมากกว่าผู้หญิง
ณ เวลานี้ สังคมไทยเป็นสังคมสูงอายุแล้ว ภาพหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่า ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็คือเจอผู้หญิงสูงอายุเต็มบ้านเต็มเมือง ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องรับมือกับความท้าทายอันนี้
ประชากร ปี 2562 | ชาย (พันคน) | หญิง (พันคน) | รวม (พันคน) |
---|---|---|---|
ต่ำกว่า 15 ปี | 5,812 | 5,546 | 11,358 |
15-59 ปี | 21,357 | 22,072 | 43,429 |
60 ปีขึ้นไป | 4,905 | 6,682 | 11,587 |
จำนวนประชากร (รวม) | 32,074 | 34,300 | 66,374 |
i สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2562). สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.
ii ศุทธิดา ชวนวัน และปิยวัฒน์ เกตุวงศา. (2557). ทำไมผู้หญิงไม่แต่งงาน: ผู้ชายหายไปไหน การประชุมวิชาการประชากรและลังคม 2557: การเกิดกับความมั่นคงในประชากรและสังคม.