หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า คำสอนในพุทธศาสนามีแต่เรื่องทุกข์ เรื่องของจิตใจที่ไกลตัว ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และเป็นศาสนาเฉพาะตัว ซึ่งใครทำอะไรก็ได้รับผลนั้น จึงไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับคนรอบข้างหรือสังคม แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับตรงกันข้าม เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ย่อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไปหมด
พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนเรื่องของธรรมชาติ ความจริงของธรรมชาติ และกฎของธรรมชาติ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างมีสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหมด ดังนั้น การกระทำของบุคคลแต่ละคน ย่อมมีผลกระทบต่อสังคม ในทางกลับกัน การเปลี่ยนแปลงของสังคมย่อมมีอิทธิพลต่อบุคคลด้วย นอกจากนี้ พุทธศาสนายังมีจุดหมายอยู่ที่ความสุข ดังคำกล่าวที่ว่า "ทุกข์สอนให้รู้จัก สุขสอนให้เข้าถึง"
เพราะความทุกข์เป็นปัญหาสำคัญที่คนเราต้องการกำจัดให้หมดไป พุทธศาสนาจึงเริ่มด้วยการชี้ให้เห็นตัวปัญหาหรือทุกข์เสียก่อน จากนั้นจึงสอนให้รู้ถึงสาเหตุของปัญหาหรือสาเหตุของทุกข์ แสดงให้เห็นถึงผลลัพท์เมื่อปัญหาหรือทุกข์หมดไป และเสนอแนวทางปฏิบัติที่จะแก้ไขปัญหาหรือทุกข์ ซึ่งคำสอนชุดนี้คือ อริยสัจจ์ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค นั่นเอง
สำหรับผลลัพท์เมื่อทุกข์หมดไปคือ นิพพาน อันเป็นความสุขสูงสุด และเป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนาด้วย แต่จุดหมายเฉพาะหน้าของพุทธศาสนาคือ การปฏิบัติตนให้มีความสุขในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าสถานการณ์รอบตัวจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม
ความสุขนั้นมีหลายระดับ ถึงแม้การที่เข้าถึงความสุขในแต่ละระดับ จะเป็นเรื่องที่เราต้องทำด้วยตนเองก็ตาม แต่สิ่งแวดล้อมและสังคมก็เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยขัดขวางการเข้าถึงความสุขของเราเองด้วย
ศาสนาพุทธจึงมีคำสอนที่จะทำให้สังคมร่มเย็นเป็นสุข โดยคำสอนขั้นต้นที่ทุกคนในสังคม ควรปฎิบัติอย่างสม่ำเสมอ คือ ศีล 5
ศีล 5 หรือเบญจศีล เป็นการประพฤติชอบทางกายและวาจา 5 ประการ ประกอบด้วย
เมื่อได้ละเว้นการกระทำที่ไม่ดี 5 ประการแล้ว ก็ควรทำแต่สิ่งที่ดีคือ ธรรม 5 หรือเบญจธรรม คู่กันไป ประกอบด้วย
คำสอนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันและการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่เราควรปฏิบัติยังมีอีกมาก ในที่นี้ขอยกตัวอย่างพอเป็นสังเขป ได้แก่
จะเห็นได้ว่า คำสอนในพุทธศาสนาจะมีเป็นชุดๆ โดยแต่ละชุดมีข้อปฏิบัติมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งในการปฏิบัติให้ได้ผลนั้น ต้องปฏิบัติให้ครบทุกข้อ เป็นองค์รวม เพราะถ้าปฏิบัติแยกส่วน โดยเลือกปฏิบัติเพียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือเพียงบางข้อแล้ว ย่อมจะไม่ประสพผลสำเร็จตามจุดประสงค์
สังคมไทยดั้งเดิมเป็นสังคมสงบสุข เพราะมีวัฒนธรรมอันมีพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน เป็นสังคมที่เข้มแข็ง โดยสามารถประยุกต์วัฒนธรรมต่างชาติให้เข้ากับสังคมไทยได้ แต่สังคมไทยปัจจุบันกลับไม่สงบสุข เพราะอ่อนด้อยทางศีลธรรม และเป็นสังคมที่อ่อนแอ เพราะรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา โดยไม่แยกแยะ และไม่ประยุกต์เสียก่อน
ส่วนวัฒนธรรมตะวันตกดั้งเดิมนั้น มีรากฐานมาจากศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาที่มีพระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์ และพระเจ้าได้สร้างกฏหรือศีลขึ้น เพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติตาม ถ้ามนุษย์ไม่ทำตามจะถือว่าเป็นบาปและต้องตกนรก โดยการไถ่บาปจะทำให้ไม่ตกนรก
วิทยาศาสตร์จะปฏิเสธทฤษฎีการสร้างมนุษย์ของพระเจ้า (Creation) โดยยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution) เมื่อวิทยาศาสตร์แพร่หลายมากขึ้น จึงเกิดความขัดแย้งกับศาสนาคริสต์ ทำให้คนในสังคมตะวันตกส่วนหนึ่ง เลิกนับถือศาสนา และคิดว่าผู้นับถือศาสนาเป็นคนงมงาย
ในปี พ.ศ. 2537 รางวัลอีกโนเบล สาขาคณิตศาสตร์ ได้มอบให้กับThe Southern Baptist Church of Alabama ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้สร้างสูตรคณิตศาสตร์ของศีล เพื่อคาดประมาณจำนวนพลเมืองในแต่ละเขตปกครองของรัฐอาลาบามาว่า มีจำนวนเท่าไรที่จะต้องตกนรก เพราะไม่ได้ไปไถ่บาป
รางวัลอีกโนเบล: รางวัลสำหรับงานวิจัย “ที่ทำให้หัวเราะก่อนคิด”
หมายเหตุ ผู้สนใจในรายละเอียดของคำสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถดาวน์โหลดหนังสือชื่อ ธรรมนูญชีวิต โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ได้ที่ http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/a_constitution_for_living_thai-eng.pdf