ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของแรงงานข้ามชาติ จำนวนหลายล้านคนโดยเฉพาะจากประเทศเพื่อนบ้านอีกทั้งยัง เป็นถิ่นที่พำนักของชาวต่างชาติอีกหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม แรงงานที่มีทักษะ ซึ่งทำงานในองค์กรธุรกิจข้ามชาติ หรือเป็น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ กลุ่มคู่สมรสข้ามชาติที่แต่งงานกับชาวไทยกลุ่มผู้เกษียณอายุซึ่งมักอาศัยตามเมืองท่องเที่ยวหลัก และกลุ่มนักท่องเที่ยวระยะยาวซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นคนหนุ่มสาวและ วัยทำงาน
Source:http://www.infometrics.co.nz/migration-tweaks-affect-migrant-composition-rather-number/
ในทางกลับกันมีชาวไทยจำนวนไม่น้อยที่ย้ายถิ่นไป ทำงาน เรียนหนังสือ และตั้งถิ่นฐานในต่าง ประเทศ โดยกระทรวง การต่างประเทศของ ไทย สำรวจพบว่า มีคนไทยที่อาศัยอยู่ใน ต่างประเทศเมื่อปีพ.ศ. 2555 จำนวน 1,001,070 คน โดยราว หนึ่งในสามอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ (กว่าสามแสนคน) โดยดินแดนเป้าหมายที่ชาวไทยนิยมอาศัยอยู่ได้แก่ ไต้หวัน เยอรมนี ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้และ ญี่ปุ่น ตามลำดับ1 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากองค์กร UNICEF พบว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2556 ประเทศปลายทางหลักของชาวไทยในต่างแดน ได้แก่ สหรัฐฯ (267,919 คน) เยอรมนี (71,157 คน) ออสเตรเลีย (57,176 คน) ญี่ปุ่น (46,311 คน) และ สหราชอาณาจักร(41,353 คน) โดยมีคนไทยจำนวนถึง 20,633 คน ที่ไปศึกษายังต่างประเทศ โดยประเทศยอดนิยมได้แก่ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและฝรั่งเศส ตามลำดับ2
ในอดีตเมื่อสามสิบปีก่อน คนไทยจำนวนนับแสน คนนิยมไปทำงานใน ตะวันออกกลางใน แต่ละปี แต่ต่อมาเมื่อ เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกเฟื่องฟูขึ้น กอปรกับปัญหาขาดแคลนแรงงานจากสังคมสูงวัยใน หลายประเทศ แรงงานไทยส่วนใหญ่จึงนิยมเดินทางไปทำงานใน เอเชียตะวันออกมากกว่า เนื่องจากเดินทางใกล้ ค่าจ้างสูงกว่าไทย พอสมควร และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ลำบาก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2560 มีแรงงานไทยไปทำงานที่ไต้หวันจำนวน 35,199 คน เกาหลีใต้ 12,609 คน และญี่ปุ่น 9,196 คน จากจำนวนแรงงานที่ย้ายถิ่นไปต่างประเทศทั้งหมด 115,215 คน โดยเป็นแรงงานกลุ่มที่เดินทางใหม่ 61,874 คน และกลุ่มที่ต่อสัญญาจ้างอีก 53,341 คน3
Source: https://www.siliconindia.com/shownews/India_converted_brain_drain_into_brain_gain_PM-nid-74882-cid-1.html
ทั้งนี้ แรงงานระดับมันสมองของไทยจำนวนไม่น้อยได้ย้ายถิ่น ไปยังต่างประเทศด้วย โดยในปี พ.ศ. 2560 มีแรงงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปไปทำงานต่างประเทศจำนวน 11,281 คน หรือมีสัดส่วนราวหนึ่งในสิบของแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศทั้งหมด โดยเป็นกลุ่มที่เดินทางใหม่ 5,001 คน และที่ต่อสัญญาจ้าง 6,280 คน4 แต่ในความเป็นจริงแล้ว แรงงานระดับ มันสมองของไทยที่ไปทำงานต่างประเทศน่าจะมีจำนวนมากกว่านี้พอสมควร เนื่องจากส่วนใหญ่เดินทางไปทำงานด้วยตนเอง โดย ไม่ได้แจ้งกระทรวงแรงงานเนื่องจากสามารถติดต่อกับนายจ้างโดยตรง หรือเป็นพนักงานของบรรษัทข้ามชาติที่ถูกส่งไปทำงานใน ต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่มุ่งไปยังอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและประเทศอาเซียน ที่ออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศปลายทางสำคัญแห่งหนึ่งของภาวะ “สมองไทยย้ายถิ่น” ในการสำรวจสำมะโนประชากรของออสเตรเลียเมื่อปี ค.ศ. 2011 พบว่า มีผู้ที่เกิดในประเทศไทยแต่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียจำนวนทั้งสิ้น 45,465คน เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 2006 ถึงร้อยละ 48.8 โดยกว่าครึ่งหนึ่งของคนไทยดังกล่าวมีการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป5
ท่ามกลางปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะในหลากหลาย สาขาอาชีพของไทย ปรากฏการณ์ “สมองไทยย้ายถิ่น” ดังกล่าว สร้างความกังวลไม่น้อยว่าอาจก่อให้เกิดปัญหา “สมองไหล” (brain drain) ใช่หรือไม่อันที่จริงแล้ว ประเทศไทยเองก็มีแรงงานที่มีทักษะชาวต่างชาติจำนวนนับแสนคนเข้ามาทำงานด้วยเช่นกัน ซึ่งช่วยให้เกิดภาวะสมองไหลเข้า (brain gain) ควบคู่กันขณะเดียวกัน ชาวไทยที่ไปศึกษาและทำงานในต่างประเทศ เมื่อเดินทางกลับมาไทย ก็จะช่วยให้เกิดการถ่ายทอดความรู้และ ประสบการณ์ให้กับสังคมไทยด้วย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน ความรู้ (brain exchange) และการถ่ายทอดความรู้ในวงกว้าง (brain circulation) ได้ด้วยดังนั้น การย้ายถิ่นของแรงงานที่มี ทักษะ หรือภาวะ “สมองไทยย้ายถิ่น” จึงไม่ได้เป็นผลเสียเสมอไป นอกจากนี้ คนเหล่านี้ยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า และวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศปลายทางอีกด้วย ดังนั้นเราควรพัฒนาเครือข่ายทางสังคมกับชาวไทยที่ไปทำงาน ในต่างประเทศให้เขารู้สึกรักและผูกพันกับประเทศไทย และนำความรู้และประสบการณ์มาสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยต่อไป
บางประเทศ เช่น จีน มาเลเซีย อินเดีย และสิงคโปร์มีนโยบายที่เรียกว่า “นโยบายสมองไหลกลับ” (Reverse Brain Drain) เพื่อส่งเสริมให้คนชาติตนที่มีทักษะระดับสูง แต่ทำงานในต่างประเทศให้นำความรู้และประสบการณ์มาถ่ายทอดให้กับสังคมในประเทศแม่ อาจเป็นการกลับมาระยะสั้น เช่น มาสอนหนังสือและทำวิจัย หรือกลับมาอย่างถาวรก็ได้โดยให้แรงจูงใจต่างๆ เช่น การให้ทุนวิจัย การสนับสนุนสินเชื่อสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมไฮเทค และการให้วีซ่าระยะยาวสำหรับผู้ที่แปลงสัญชาติแล้ว ให้กลับมาอาศัยในประเทศแม่เป็นต้น โดยประเทศจีนประสบความสำเร็จมากในการส่งเสริมธุรกิจ start-up จากการลงทุนของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศตน
ประเทศไทยเอง ก็มีโครงการย่อยๆ ใน ลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น “โครงการสมองไหลกลับ” ของสำานักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่สนับสนุนให้นักวิชาชีพไทยที่อยู่ต่างประเทศกลับมาร่วมพัฒนาอุดมศึกษา โดยการสนับสนุนค่าตั๋ว เครื่องบินไป-กลับ และ ค่าที่พัก หรือ “โครงการสมองไหลกลับ” ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ให้ทุนวิจัยและส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยัง นักวิชาการและผู้ประกอบการในประเทศไทย เป็นต้น
Source:http://blog.iese.edu/expatriatus/2013/04/05/returning-home-after-living-abroad-not-as-easy-as-expected/
แม้โครงการดังกล่าวอาจทำได้อย่างจากัด และไม่ครอบคลุม คนไทยกลุ่มอื่นๆ ในต่างประเทศ แต่ในโลกยุคดิจิทัลนี้ ไม่ว่าคนไทยจะทำงานอยู่ที่ใดในโลก ก็สามารถติดต่อสื่อสารและร่วมพัฒนาประเทศไทยผ่านจอคอมพิวเตอร์ ไอแพดและสมาร์ทโฟนได้ไม่ยากนัก โดยอาศัยช่องทางมัลติมีเดียต่างๆ ใน การถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และการสร้างเครือข่าย ทางธุรกิจกับประเทศไทย เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้(brain exchange) และการถ่ายทอดความรู้ในวงกว้าง (braincirculation) กับประเทศแม่อย่างแท้จริง
อ้างอิง
1 Thailand Migration Report (2014)
2 Thailand Migration ่ีProfiles, UNICEF (2013)
3 สถิติจำานวนคนไทยทได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ ป ี2560 กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน
4 รวบรวมจากสถิติการเดินทางไปทำางานต่างประเทศประจำาเดือน มกราคม.ธันวาคม 2560 กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน
5 T. Beasely, P. Hirsch and S. Roongmanee (2014). Thailand in Australia. Sydney: Southeast Asia Center, University of Sydney