The Prachakorn

ผู้ที่เป็นเบาหวานกำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น


ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์

227



องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของ ปี เป็น “วันเบาหวานโลก” มาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เพื่อให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกได้รณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคนี้ เพราะผู้เป็นโรคนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการคาดประมาณขององค์การอนามัยโลกนั้น ในปี พ.ศ. 2543 มีประชากรอายุ 20 ปีขึ้นไปที่เป็นเบาหวานอยู่ประมาณ 171 ล้านคนทั่วโลก และจะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 366 ล้านคนในปี พ.ศ. 2573

เมื่อจำแนกตามภูมิภาคต่างๆ ขององค์การอนามัยโลกนั้น พบว่า จำนวนผู้ที่คาดว่าจะเป็นเบาหวานในปี พ.ศ. 2573 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2543 ในทุกภูมิภาค ยกเว้นภูมิภาคยุโรปที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1.4 เท่าตัวเท่านั้น ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกนับเป็นภูมิภาคที่มีอัตราเพิ่มของผู้ที่เป็นเบาหวานสูงสุด คือ 2.8 เท่า รองลงมาเป็นภูมิภาคแอฟริกา 2.6 เท่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2.5 เท่า อเมริกา 2.0 เท่า แปซิฟิกตะวันตก 1.9 เท่า และยุโรป 1.4 เท่า

ตาราง: ประมาณการจำนวนประชากรอายุ 20 ปีขึ้นไปที่เป็นเบาหวาน จำแนกตามภูมิภาคต่างๆ พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2573

ภูมิภาคต่างๆ ภายใต้องค์การอนามัยโลก

ประมาณการจำนวนผู้ที่เป็นเบาหวาน

อัตราส่วนปี 2573 ต่อปี 2543

พ.ศ. 2543

พ.ศ. 2573

แอฟริกา

7,020,000

18,234,000

2.60

เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก

15,188,000

42,600,000

2.80

อเมริกา

33,016,000

66,812,000

2.02

ยุโรป

33,332,000

47,973,000

1.44

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

46,903,000

119,541,000

2.55

แปซิฟิกตะวันตก

35,771,000

71,050,100

1.99

รวม

171,230,000

366,210,100

2.14

แหล่งข้อมูล: http://www.who.int/diabetes/facts/world_figures/en/

นอกจากนั้น เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่า มีจำนวนผู้ที่คาดว่าจะเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุ แต่อัตราการเพิ่มขึ้นมีความแตกต่างกันระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา จากกราฟ แสดงให้เห็นว่าในประเทศพัฒนาแล้ว การเพิ่มขึ้นของผู้ที่เป็นเบาหวานพบมากในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่น แต่ในประเทศกำลังพัฒนา อัตราเพิ่มของผู้ที่เป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นมากในทุกกลุ่มอายุ

รูป: เปรียบเทียบจำนวนผู้ที่เป็นเบาหวานจำแนกตามกลุ่มอายุ ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา

 

แหล่งข้อมูล: http://www.who.int/diabetes/actionnow/en/diabprev.pdf


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th