การทำเว็บไซต์ ที่ไม่คำนึงถึงการวางโครงสร้างเพื่อการเข้าถึงของบุคคลที่มีความบกพร่อง เช่น ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา ทางหู หรือ ผู้สูงอายุ เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในโลกแห่งการติดต่อสื่อสารในยุคดิจิตอล ปัจจุบันมีคนพิการ และผู้สูงอายุ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเกือบ 3 ล้านคน แต่มีเว็บไซต์ให้คนตาบอด ตาพร่ามัวใช้งานได้จริงไม่ถึง 1% เว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐประมาณ 90% ยังไม่รองรับการใช้งานของผู้พิการและผู้สูงอายุ
การพัฒนาเว็บไซต์ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Web Accessibility คือ การออกแบบเว็บไซต์ โดยอิงตามแนวทางการพัฒนาที่เป็นมาตรฐาน องค์กร World Wide Web Consortium (W3C) จึงได้วางหลักการในการออกแบบเว็บไซต์เมื่อปี 2548 โดยใช้ชื่อว่า Web Content Accessibility Guidelines 2.0 (WCAG 2.0) เพื่อลดอุปสรรคเหล่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้มีคนสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือองค์กรที่จัดทำได้เพิ่มมากขึ้น หลักการออกแบบเว็บไซต์ที่สำคัญ คือ
ด้วยหลักการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทำให้ทราบว่าทำไมต้องเป็น Web Accessibility ทำให้เราสามารถตอบได้ว่า ความพิการ = ความบกพร่อง + อุปสรรค จึงทำให้ Web Accessibility เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดอุปสรรคเหล่านั้น
(ที่มา : นิตยสารสร้างสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 130 (ส.ค 2555) : 14-15)
ที่มา: จดหมายข่าวฉบับย้อนหลัง ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2555