ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่โควิด-19 ได้เข้ามามีผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของโลก ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ การทำงาน และการใช้ชีวิต แต่หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายและคนส่วนใหญ่กลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้มากขึ้น ในด้านการทำงานกลับมีคนจำนวนมากที่ต้องการลาออกจากงานที่ทำอยู่ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก จนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “The great resignation” หรือ “การลาออกระลอกใหญ่” ทำไมคนที่มีงานทำกลับต้องการลาออก กลุ่มไหนตัดสินใจทิ้งงานมากกว่ากัน และหน่วยงานต่างๆ จะต้องปรับตัวอย่างไร
ข้อมูลจากการสำรวจของ Bureau of Labor Statistics ของสหรัฐอเมริกา พบว่า อัตราการลาออกโดยสมัครใจของคนทำงานเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยเดือนละ 3.5 ล้านคนในปี 2562 เป็นเฉลี่ย 4 ล้านคนต่อเดือนในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับก่อนที่จะมีโควิด1
นอกจากคนที่ลาออกมีมากขึ้นแล้ว คนที่ยังทำงานอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ก็คิดที่จะลาออกเช่นกัน งานวิจัยของ Gloat ที่เก็บข้อมูลในปี 2564 พบว่าเกือบครึ่งของคนที่ทำงานอยู่ (48.1%) ตอบว่ากำลังหางานใหม่ หรือมีแผนจะหางานใหม่ใน 90 วัน2 และที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงลาออกมากกว่าผู้ชาย
งานวิจัยของ Gusto ซึ่งเก็บข้อมูลธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปลายปี 2564 พบว่า เดือนสิงหาคม 2564 เป็นเดือนที่มีการลาออกมากที่สุด โดยมีอัตราการลาออกของผู้ชายอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ในขณะที่ผู้หญิงลาออกถึงร้อยละ 5.53
จากภาระที่ต้องแบกรับดังกล่าว ผู้หญิงจึงต้องการลดเวลางานลง หรือออกจากงานมากกว่าผู้ชาย
แผนภูมิ: ร้อยละของคนทำงานที่ตัดสินใจปรับเปลี่ยนการทำงานเพราะสถานการณ์โควิด-19 เทียบชายหญิง
ที่มา: McKinsey & Company. Women in the Workplace 2020: Corporate America is at a critical crossroads. Access on 12 September 2022 at: https://wiw-report.s3.amazonaws.com/Women_in_the_Workplace_2020.pdf.
จากการลาออกจำนวนมากของพนักงานทำ.ให้บริษัทต่างๆ ต้องปรับตัวเพื่อรักษาบุคลากรไว้กับองค์กรให้นานที่สุด ในปี 2564 บริษัทที่มีอัตราการลาออกสูง เช่น McDonalds ได้ปรับค่าแรงขึ้น 10% สำหรับพนักงานที่ยังคงทำ.งานอยู่ และเพิ่มค่าจ้างของพนักงานที่เข้าใหม่เป็น 11–17 เหรียญ และยังเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การดูแลเด็กฉุกเฉิน การลาโดยได้รับค่าจ้าง การจ่ายค่าเล่าเรียนให้ จากการปรับเพิ่มรายได้และสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ทำให้บริษัทสามารถเพิ่มจำนวนบุคลากรได้มากขึ้นจากต้นปี5 โดยแรงงานกลุ่มนี้ที่ได้รับค่าแรงต่ำมักจะไม่ได้ออกจากตลาดแรงงาน แต่เป็นการ “ปรับเปลี่ยนงาน” เพื่อยกระดับรายได้ให้ดีขึ้น การที่บริษัทปรับเพิ่มค่าจ้างจึงตอบสนองต่อความต้องการของแรงงานกลุ่มนี้ แต่ในแรงงานกลุ่มอื่น โดยเฉพาะที่เป็นแรงงานทักษะสูง ความต้องการมีความสลับซับซ้อนมากกว่านั้น นโยบายการทำงานในอนาคตอาจจะต้องมีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรที่แตกต่างกัน องค์กรที่ให้โอกาสบุคลากรได้เติบโต มีนโยบายการทำงานที่หลากหลาย และมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน จะทำให้รักษาบุคลากรที่มีค่าไว้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน