ประชากร ร้อยละ 59 สามารถอ่านออกเขียนได้ ปัจจุบันปากีสถานมีประชากรรวม 230,968,207 คน และเป็นอันดับที่ 5 ของโลก2 รัฐบาลปากีสถานมีนโยบายหลากรูปแบบเพื่อพัฒนาประเทศและเพื่อยกระดับประชาชนให้พ้นจากความหิวโหยและความเหลื่อมล้ำในสังคม เช่น นโยบายส่งเสริมภาคเกษตรกรรมรายย่อยระดับครอบครัวเพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอในระดับครัวเรือน อย่างไรก็ตาม สภาวะทางเศรษฐกิจทรุดหนักอย่างต่อเนื่องและเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ประชากรวัยแรงงานย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ
ขณะที่ความมั่นคงทางการเมืองขาดเสถียรภาพ การใช้ความรุนแรงกับผู้นำประเทศโดยการลอบสังหาร เช่น เหตุการณ์ลอบสังหาร เบนาซี บุตโต อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2550 และเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อปี 2551 ในสมัยของอดีตนายกรัฐมนตรี ยูซาบ ราซา แต่รอดชีวิต และเหตุการณ์ครั้งล่าสุดคือความพยายามลอบสังหารนายอิมรอน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ขณะออกหาเสียงให้พรรคสำหรับการเลือกตั้งคราวหน้า แต่กระสุนพลาดเป้าหมายและได้รับบาดเจ็บที่ขาจึงรอดตาย อย่างไรก็ตามผู้ติดตามรักษาความปลอดภัยเสียชีวิต 1 ราย
ปากีสถานและอินเดียแม้เป็นประเทศเพื่อนบ้านกันก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความขัดแย้งที่คุกรุ่นมานานและต่อเนื่อง เช่น การใช้สิทธิครอบครองแคว้นจัมมู-แคชเมียร์ ทางตอนเหนือของประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ในที่สุดมีข้อตกลงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศด้วยการแบ่งพื้นที่การปกครองแคว้นจัมมู-แคชเมียร์ เป็นสองส่วน โดยไม่สนใจความรู้สึกของประชาชน
แม้ว่าปัญหาปากท้องเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตประจำวัน ยังมีเรื่องน่าอภิรมย์ให้ประชาชนมีความหวังได้เช่นกัน ทราบหรือไม่ว่าปากีสถานทุบสถิติโลกด้วยการที่รัฐบาลติดตั้งตู้เอทีเอ็มเมื่อปี พ.ศ. 2559 ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 4,500 เมตร โดยการใช้กระแสไฟฟ้าจากระบบ solar cell และพลังลม ใช้เวลาในการติดตั้งและทดลองระบบ รวม 4 เดือน จากสถิติความถี่และจำนวนเงินที่ผ่านระบบเอทีเอ็มที่เจ้าหน้าที่ธนาคารบันทึกไว้โดยเฉลี่ยใน 15 วัน มีผู้ใช้บริการจำนวนเงินผ่านระบบเอทีเอ็ม ประมาณ 820,000 บาท อย่างไรก็ตาม การดูแลระบบการทำงานใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เจ้าหน้าที่ธนาคารสาขาที่ทำหน้าที่ดูแลระบบ ที่อยู่ใกล้ที่สุดระยะทางราว 90 กิโลเมตร ต้องตรวจสอบปัญหาต่างๆ เช่น ใช้เครื่องมือวัดระดับกระแสไฟฟ้าจากระบบ solar cell กระแสลมพายุที่อาจแรงเกินไป วัดแรงสะเทือนจากแผ่นดินไหว รวมทั้งปัญหาบัตรกดเงินค้างเครื่อง เป็นต้น
ตู้เอทีเอ็มเป็นผลจากเทคโนโลยีช่วยให้ชีวิตประจำวันของประชาชนรวมทั้งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ Khunjerab และเจ้าหน้าที่หน่วยลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยในพื้นที่รอยต่อชายแดนระหว่างปากีสถานและจีนให้มีคุณภาพมากขึ้น เช่น การโอนเงินเดือนผ่านตู้เอทีเอ็มให้ครอบครัวโดยไม่ต้องเดินทางข้ามภูเขาเป็นระยะทางไกล เพื่อลงพื้นที่ราบในเขตเมืองที่มีบริการดังกล่าว
รูป: เชิงดอย Hunza ชุมชนที่อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติ Khunjerab ตอนเหนือสุดของประเทศปากีสถาน
ที่มา: https://globalgeography.org/af/Geography/Asia/Pakistan/Pictures/Northern_Pakistan/Hunza_Valley
สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2565
ดอย Hunza ชุมชนที่มีระยะทางใกล้ที่สุดกับจุดผ่านชายแดน Khunjerab และตู้เอทีเอ็มดังกล่าว เมื่อแรกตั้ง อุทยานแห่งชาติ Khunjerab ปี 2561 มีชุมชนใกล้เคียง รวม 8 หมู่บ้าน (หมายเหตุ: ไม่มีข้อมูลจำนวนประชากร) รัฐบาลขอความร่วมมือให้ชาวบ้านทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ลดการล่าสัตว์ป่าในบริเวณที่กำหนดไว้ รวมทั้งมีการจ้างแรงงานในพื้นที่
ผลพลอยได้จากเรื่องนี้คือ อุทยานแห่งชาติ Khunjerab กลายเป็นจุดขายสำหรับการท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจากแดนไกลมากขึ้น เช่น อัฟริกาใต้ และไม่เว้นแม้กลุ่มนักเรียนในประเทศเพื่อทัศนศึกษาเชิงนิเวศน์ ที่ต้องการไปสัมผัสตู้เอทีเอ็มและทดลองใช้บริการถอน-โอน หรือบริการอื่นๆ จะเป็นจริงตามเสียงเล่าลือหรือไม่ รวมทั้งถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
รูป: ตู้เอทีเอ็ม ที่จุดผ่านชายแดน Khunjerab ประเทศปากีสถาน
ที่มา: https://www.bbc.com/travel/article/20221003-the-worlds-highest-atm-pakistans-mountaintop-bank-machine สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2565
อ้างอิง