การเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย คือ เหตุการณ์ที่พบว่า “ปี 2564 เป็นปีแรกที่คนตายมีจำนวนมากกว่าคนเกิด” (จำนวนตายมากกว่าเกิด 19,080 คน) ส่งผลให้อัตราเจริญพันธุ์รวม (TFR) เท่ากับ 1.21 เท่านั้น1 (หมายถึง ผู้หญิงไทยจะมีลูกตลอดวัยมีบุตรโดยเฉลี่ยเพียง 1.2 คน) ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับของญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ล่าสุด สำนักบริหารการทะเบียน ได้ออกประกาศสถิติทางประชากรของปี 2565 ผ่านทางเว็บไซต์ www.dopa.go.th ดังนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 มีประชากรทั่วประเทศ 66,090,475 คน เป็นสัญชาติไทย 65,106,481 คน และไม่ได้สัญชาติไทย 983,994 คน2 นอกจากนี้ มีจำนวนเด็กเกิด 502,107 คน จำนวนคนตาย 595,965 คน3
ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า “จำนวนตายในประเทศไทยมากกว่าจำนวนเกิดเป็นปีที่สอง” ซึ่งมีจำนวนคนตายมากกว่าเกิดถึงประมาณ 9 หมื่นคน (ในขณะที่ปีที่แล้วมีจำนวนคนตายมากกว่าเกิดประมาณ 2 หมื่นคนเท่านั้น) ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าการเพิ่มประชากรไทยตามธรรมชาติเริ่มติดลบแล้ว
ตารางแสดงจำนวนเกิด และจำนวนตายของประชากรไทย ปี 2556-2565
ที่มา: สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
อ้างอิง