The Prachakorn

สถานการณ์การใช้สื่อของเด็กและประสบการณ์จากพ่อแม่


14 มิถุนายน 2566
413



นางฐาณิชชา ลิ้มพานิช และนางพิมพ์ลดา แจ้งเจนเวทย์

เกือบ 20 ปีที่ผ่าน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ปี ๒๕๔๖ ได้ทำการสำรวจอิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมเด็ก พบพฤติกรมการดูทีวีของเด็กอายุ ๓ – ๑๒ ปี ตามทัศนะของพ่อแม่ / ผู้ปกครองในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑,๔๗๗ ตัวอย่าง พบจำนวนชั่วโมงการดูทีวีต่อวันในวันจันทร์-ศุกร์ และ วันเสาร์-อาทิตย์ จำนวนชั่วโมงดูทีวี เฉลี่ย ๓ – ๕ ชม. / วัน ช่วงเวลาที่ดูมากที่สุดคือ จันทร์ – ศุกร์ ช่วง๔โมงเย็น– ๒ ทุ่ม ในวันเสาร์และอาทิตย์ ช่วง ๘ โมงเช้า ถึงเที่ยงเด็กนิยมดูทีวีมากที่สุด พ่อแม่ / ผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความคิดว่าสื่อมีผลต่อพฤติกรรมลูกหลาน ด้านต่าง ๆ และมีผลเสียต่อเด็กอยู่ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกับการทำงานด้านการกลั่นกรองสื่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึง ตัวพ่อแม่ที่ทำหน้าที่กลั่นกรองสื่อให้ลูกอยู่ในระดับปานกลางอีกด้วย ส่วนการจัดประเภทของรายการในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับเด็กส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว จากทัศนะของพ่อแม่ผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่าง เราเห็นอะไรจากสถานการณ์นี้ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในปัจจุบัน ช่องทางการรับรู้สื่อ หลากหลาย ขาดการควบคุมจากภาครัฐ กฎหมายที่ยังไม่สามารถบังคับ มีมาตรการควบคุมการตลาด การโฆษณา รวมทั้งสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการ พบเห็น สื่อ ย้ำๆ ซ้ำๆๆรวมทั้งเด็กเยาวชน เข้าถึงช่องทางการรับรู้สื่อได้ง่าย ได้เร็ว ตลอด 24 ชั่วโมง หากไม่มีการควบคุมดูแลจากผู้ปกครอง นั่นหมายถึง จะส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสื่อ ของสูงขึ้นจาก ที่ผ่านมา และข้อมูลการทำงานการแลกเปลี่ยนกับผู้ปกครอง พบสถานการณ์การกิน อาหารของเด็กกับการเลี้ยงดูจากครอบครัว สัมพันธ์กัน คนในครอบครัวมปัญหาสุขภาพ โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน และแนวโน้มเด็กในครอบครัว โรคอ้วน เช่นกัน การเสพข้อมูลข่าวสารจากสื่อ มีผลทั้งทางบวก และทางลบ ทางบวก ใช้เป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้ เปิดโลกทัศน์ ค้นหาความรู้ ประวัติศาสตร์ ข่าวสารต่างๆ ทางลบ หากขาดการวิเคราะห์ ตั้งคำถาม รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบที่เห็ดชัดจากการทำงานกับเด็กและครอบครัว 3 ด้าน ได้แก่ 1 การบริโภค อาหารการกิน เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ โรคอ้วน อาหาร Fastfood การดูสื่อจากอินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ /เรื่องของรูปร่าง น้ำหนัก ขาว ผอม เพรียว ไปถึงเรื่องการใช้จ่ายเงิน 2 พฤติกรรมทางเพศ เลียนแบบสื่อ ตัวละคร /ความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวง และ 3 ความรุนแรง จากเกม การดูซ้ำๆบ่อยๆ หมกหมุ่น เป็นเวลานาน /ความสัมพันธ์ในครอบครัว การขโมยเงินเติมเกม ขโมยเงินซื้อของออนไลน์

ติดตามและรับชมย้อนหลังได้ที่ Facebook : IPSRMahidolUniversity

https://fb.watch/lK8v5g95CU/


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th