The Prachakorn

จะรีบมีลูกไปไหน: หญิงไทยมีลูกเมื่ออายุมากขึ้น


กาญจนา เทียนลาย

04 มกราคม 2567
243



เป็นที่ทราบกันดีว่า การเกิดของประชากรไทยมีแนวโน้มลดลงมาอย่างต่อเนื่อง หลังจากปี 2526 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มีการเกิดอยู่ในหลักล้าน จากข้อมูลการเกิดของสำนักบริหารการทะเบียนพบว่า “ปี 2565 เป็นปีที่สอง ที่การเกิดของประชากรไทยต่ำกว่าการตาย” โดยมีการเกิด 502,107 คน และตาย 595,965 คน

ทั้งนี้เมื่อแบ่งตามภาค พบว่า กรุงเทพมหานครมีอัตราเกิดมีชีพสูงที่สุด คือ 9.7 ต่อประชากร 1,000 คน รองลงมาคือภาคใต้ และภาคกลาง ตามลำดับ

จากข้อมูลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2556–2565) เมื่อพิจารณาในกลุ่มอายุของแม่ พบว่า “การเกิดจากแม่อายุต่ำกว่า 20 ปี มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง” รวมทั้งในกลุ่มอายุที่ต่ำกว่า 15 ปีด้วยเช่นกัน ซึ่งนับว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับคุณภาพของเด็กในอนาคตด้วย นอกจากนี้การเกิดจากแม่ที่อายุในช่วง 25–44 ปีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ที่สะท้อนให้เห็นว่าคนเริ่มมีลูกช้าลง สถานการณ์เหล่านี้เชื่อมโยงกับจำนวนการเกิดที่ลดลงด้วย นอกจากนี้แล้ว สถานภาพทางสังคมของผู้หญิงที่สูงขึ้น การแต่งงานที่ช้าลง การครองตัวเป็นโสดของผู้หญิง ทัศนคติต่อการมองสังคม รวมทั้งการคำนึงถึงคุณภาพและการเลี้ยงดูเด็ก ก็เป็นเหตุผลสำคัญต่อการมีลูกของผู้หญิงอีกด้วย

 


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th