The Prachakorn

การเปลี่ยนผ่านของระบบทะเบียนราษฎร์จากกระดาษมาเป็นอิเล็กทรอนิกส์


14 สิงหาคม 2567
89



วิทยากร: ประเสริฐ ศรีพนารัตนกุล
ผู้นำการเสวนา: ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล

สำหรับการจดทะเบียนคนเกิด คนตาย และคนย้ายที่อยู่นั้น เป็นงานที่ได้ดำเนินการโดยยึด พระราชบัญญัติสำหรับทำบาญชีคนในพระราชอาณาจักร ร.ศ. ๑๒๘ เป็นหลัก ต่อมามีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนคนเกิด คนตาย คนย้ายตำบล ซึ่งรวมไว้กับการทำบัญชีสำมะโนครัวอีก ๒ ฉบับ (คือ พ.ศ. ๒๔๖๑ และ ๒๔๗๙) จนในปี ๒๔๙๙ ได้มี พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๔๙๙ รวมวิธีปฏิบัติการทำทะเบียนราษฎรไว้ด้วยกันทำให้การจดทะเบียนราษฎรของประเทศไทยเป็นเอกภาพทั่วพระราชอาณาจักร

การจดทะเบียนราษฎรของประเทศไทยมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าไปแบบก้าวกระโดดเมื่อมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาใช้ในระบบการทะเบียนราษฎรในโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนด้วยเลข ๑๓ หลัก ตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ เป็นต้นมา จนในปัจจุบันประเทศไทยมีระบบการจดทะเบียนราษฎรที่ก้าวหน้าและทันสมัย และมีประสิทธิภาพไม่แพ้ชาติอื่นใดในโลก

อ้างอิงจาก ปราโมทย์ ประสาทกุล (๒๕๖๗). เสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗.

Watch VDO later at https://fb.watch/vRrAAapUcv/


Tags :

CONTRIBUTOR

Related Posts
Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th