การหลงตัวเอง (narcissism) คือการแสวงหาความพึงพอใจจากการทะนงตน หรือการยกย่องว่าตนสำคัญกว่าผู้อื่น ต้นกำเนิดของคำว่า narcissism มาจาก Narcissus อันเป็นชื่อของชายหนุ่มในตำนานกรีกโบราณ ที่ตกหลุมรักเงาของตนเองในหนองน้ำ จึงได้แต่เฝ้ามองชื่นชมหน้าของตนเองทั้งวันทั้งคืน จนกระทั่งกลายเป็นดอกไม้ไปในที่สุด (ดังรูป) ดังนั้น คนหลงตัวเอง (narcissist) คือผู้ที่ใส่ใจ หลงใหล และชื่นชม กับภาพลักษณ์และคุณลักษณะของตนเองเป็นที่สุด
รูป Echo and Narcissus วาดโดย John William Waterhouse
ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:John_William_Waterhouse_Echo_And_Narcissus.jpg สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2564
โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder - NPD) อันเป็นการหลงตัวเองที่มากเกิน ได้ถูกชี้ให้เห็นเป็นครั้งแรกในปี 1898 โดย Havelock Ellis ว่าเป็นความผิดปกติทางบุคคลิกภาพ ต่อมาในปี 1914 จึงเข้าไปอยู่ในแบบจำลองทางจิตวิทยาของฟรอยด์เกี่ยวกับการหลงตัวเอง (Freud's On Narcissism)
เกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคหลงตัวเอง ได้แก่
สำหรับผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลงตัวเอง จะต้องเข้าเกณฑ์อย่างน้อย 5 ข้อขึ้นไป
ถึงแม้ว่าจะมีเกณฑ์ที่ทำให้ตัดสินได้ว่า ใครเป็นคนหลงตัวเองก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมองเห็นหลักเกณฑ์เหล่านี้ เพราะคนหลงตัวเองก็มีส่วนดีอื่นๆ ที่อาจทำให้มองข้ามข้อเสียนี้ไป เช่น ความเป็นผู้นำ มีระเบียบวินัย มีเสน่ห์ ฉลาด ประสบความสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ถ้าได้คบกันจนเป็นคู่รักไปแล้ว ก็ยังสามารถมองหาสัญญาณของคนหลงตัวเองได้เช่นกัน ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ ได้แก่
ถ้าเราต้องการเลิกกับคนหลงตัวเอง แบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น ก็ต้องกระทำสิ่งต่อไปนี้คือ
จะเห็นได้ว่า การเป็นคนรักกับคนหลงตัวเองย่อมทำให้เกิดทุกข์ และยิ่งยากขึ้นไปอีกที่จะเลิกกับคนหลงตัวเอง ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องคบกันเลยตั้งแต่แรก ซึ่งเราจะต้องมีความสามารถที่จะรู้ได้ว่า คนไหนเป็นคนหลงตัวเอง เมื่อได้เห็นครั้งแรก โดยไม่ต้องมองหาสัญญาณ ที่ต้องใช้เวลานานในการสังเกต
ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยชาวแคนาดาและอเมริกัน 2 คน (Miranda Giacomin และ Nicholas Rule) ที่ได้ร่วมมือกันทำวิจัยจนได้ผลลัพธ์ว่า “คิ้วสามารถบอกได้ว่า ใครเป็นคนหลงตัวเอง” จึงได้รับรางวัลอีกโนเบล สาขาจิตวิทยาไปในปีล่าสุด (2563)
รางวัลอีกโนเบล: รางวัลที่ขบขัน แต่ชวนให้คิด
หมายเหตุ: ปรับแก้จาก “การหลงตัวเอง” ใน ประชากรและการพัฒนา 41(5) มิถุนายน-กรกฎาคม 2564: 8
วรชัย ทองไทย