The Prachakorn

มองประชากรศึกษาผ่านกรอบเควียร์


ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง

29 กรกฎาคม 2563
709



ปรากฏการณ์ทางประชากรศาสตร์ อันได้แก่ การเกิด การตาย การย้ายถิ่น ความชราภาพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอนามัยเจริญพันธุ์ รวมถึงกระบวนการทางเศรษฐกิจ การเมือง ภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางประชากรล้วนมองข้ามความสาคัญของประเด็นเพศวิถีและกามารมณ์และลดทอนให้กลายเป็นเพียงประเด็นสุขภาวะ อีกทั้งการอธิบายปรากฏการณ์ทางประชากรศาสตร์รวมถึงเนื้อหาสาระขององค์ความรู้ในสาขาวิชาประชากรศึกษาล้วนถูกอธิบายผ่านกรอบความคิดทางสังคมศาสตร์ที่วางอยู่บนบรรทัดฐานของรักต่างเพศ (heteronormativity) แทบทั้งสิ้น การบรรยายในครั้งนี้จึงมุ่งนาเสนอคุณูปการที่สาคัญของทฤษฎีเควียร์ (queer theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีวัฒนธรรมว่าด้วยเพศภาวะและเพศวิถีซึ่งถือกาเนิดและโด่งดังในช่วงทศวรรษที่ 1990 รวมถึงมุมมองเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางประชากรศาสตร์รวมถึงเนื้อหาสาระขององค์ความรู้ในสาขาวิชาประชากรศึกษาเพื่อเผยให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการก้าวข้ามขอบเขตองค์ความรู้ทางประชากรศาสตร์ไปสู่การยอมรับความแตกต่างหลากหลายในพื้นที่ทางความรู้มากยิ่งขึ้น คาสาคัญ: ทฤษฎีเควียร์ (Queer Theory), บรรทัดฐานของรักต่างเพศ (Heteronormativity), ประชากรศึกษา (Population Studies), การเมืองเรื่องการนับรวม (Politics of Inclusion), เพศวิถีและกามารมณ์ (Sexuality and Affect)

Facebook Link: https://www.facebook.com/255818394487885/videos/319533779454756
 



CONTRIBUTOR

Related Posts
COVID-19 โรคเปลี่ยนโลก

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา

มองประชากรศึกษาผ่านกรอบเควียร์

ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th