The Prachakorn

เศรษฐศาสตร์สถาบันในระบบสุขภาพไทย


26 พฤษภาคม 2564
957



อาจารย์ ดร.ภาคภูมิ แสงกนกกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทฤษฎี แนวความคิด และเครื่องมือในการวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์สุขภาพปัจจุบันมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอคลาสสิคเป็นสำคัญ ซึ่งมีข้อดีช่วยให้มีความแน่นอนสม่ำเสมอในการวิเคราะห์ประเด็นด้านสุขภาพ มีกรอบที่ชัดเจน ลดอคติในการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของสำนักคิดดังกล่าวคือ เป็นการวิเคราะห์ที่นำปัจจัยด้านสถาบัน การเมือง เป็นปัจจัยภายนอกการวิเคราะห์ ซึ่งอาจจะเหมาะสมในการใช้ในกรณีที่ระบบมีกฎระเบียบที่แน่นอนอยู่แล้ว แต่ทว่าในการปฏิบัติจริงโดยเฉพาะเรื่องนโยบายสุขภาพที่เป็นนโยบายสาธารณะชนิดหนึ่ง ที่มีผู้แสดงที่หลากหลาย ทั้งภาครัฐ และ ปัจเจกชน ในงานสัมมนาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายใช้กรอบเศรษฐศาสตร์สถาบันโดยใช้แนวการวิเคราะห์ “ประวัติศาสตร์สถาบันนิยม” เพื่ออธิบายการก่อร่างสร้างตัวสถาบันในระบบสุขภาพไทย อันได้แก่ ชาติ-ศาสนาพุทธ-สถาบันกษัตริย์ ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดแนวคิดด้านสุขภาพ การกระจายสุขภาพและบริการสุขภาพ รวมถึงนโยบาบสุขภาพไทย หารทำงานของสถาบันดังกล่าวทำให้นโยบายสุขภาพไทยเป็นหนึ่งในบริบทการพัฒนาประเทศ นโยบายสุขภาพจึงมุ่งหวังไม่เพียงแต่ยกระดับสุขภาพเท่านั้น แต่ต้องส่งผลกระทบที่ดีต่อเศรษฐกิจ รัฐจึงให้บริการเฉพาะกลุ่มประชากรที่ส่งผลประยชน์ระบบเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่วนกลุ่มประชากรที่รัฐเข้าไปไม่ถึงจึงเป็นความรับผิดชอบของครอบครัว ชุมชน การบริจาคระดมทุนจากวัดและโครงการการกุศลของสถาบันกษัตริย์

Facebook Link: https://fb.watch/5KQszbUa8E/

ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคมได้ที่

website: www.ipsr.mahidol.ac.th
Facebook: IPSRMAHIDOLUNIVERSITY



CONTRIBUTOR

Related Posts
Work from home ไม่เหงา...เท่า Care from home

จงจิตต์ ฤทธิรงค์

ติดรถ – รถติด ปลอดรถ – ลดพิษ

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th