ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พัฒนาสร้างเสริม “คุณภาพชีวิตและความสุขคนทำงาน” และ “องค์กรแห่งความสุข” มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนปัจจุบันได้รูปแบบ “HEALTHY WORKPLACE INNOVATION MODEL: รูปแบบนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร” ที่มุ่งเป้าสร้างเสริมคนวัยทำงานให้เป็น “คนเก่ง งานดี ผลิตภาพสูง” เป็นนวัตกรรมศึกษาวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ในการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรครอบคลุมคนทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน สะท้อนความเป็นอยู่และความสุขด้วยกระบวนการขับเคลื่อนและตัวชี้วัดความสำเร็จครอบคลุมในทุกมิติและตรงเป้ามากยิ่งขึ้น สามารถนำผลลัพธ์ความสำเร็จที่ได้เป็นความสุขมวลรวมควบคู่กับการเพิ่มผลิตภาพของคนวัยทำงาน
HEALTHY WORKPLACE INNOVATION MODEL เป็นรูปแบบการวิจัยพัฒนาที่ศึกษาและขับเคลื่อน “ความสุขคนทำงาน” “ความผูกพันองค์กร” “องค์กรแห่งความสุข” และ“ผลิตภาพ” ไปสู่ “องค์กรสุขภาวะ” ด้วยกระบวนการมาตรฐานเชิงระบบ (System Approach) เริ่มจากการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ด้วยองค์ความรู้ วิธีคิดและวิธีปฏิบัติแบบใหม่ จนตกผลึกเป็นชุดแนวคิด ค่านิยม แผนปฏิบัติการ การติดตามประเมินแผนและผลสำเร็จ และมีกระบวนการที่เป็นเครื่องมือสามารถวัดผลสำเร็จทั้งระดับผลผลิต ระดับผลลัพธ์และผลิตภาพ นำไปปฏิบัติได้จริงสามารถแสดงผลอย่างเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based) และเชิงผลลัพธ์ (Outcome-based) ใช้ได้ครอบคลุมทั้งเชิงนโยบาย เชิงบริหารจัดการ และเชิงวิชาการ ผลสำเร็จตอบสนองต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลรวมถึงผลิตผลอย่างต่อเนื่อง สามารถจัดการความรู้และถอดบทเรียน นำไปเป็นต้นแบบและการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (ดูแผนภาพ 1)
แผนภาพ 1: HEALTHY WORKPLACE INNOVATION MODEL รูปแบบนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร
HEALTHY WORKPLACE INNOVATION MODEL มีองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตและความสุขของคนทำงาน จำนวน 11 มิติ ได้แก่ Happy Body, Happy Relax, Happy Heart, Happy Soul, Happy Family, Happy Society, Happy Brain, Happy Money, Happy work-life, Engagement, และ Work-Life Balance และได้มีกระบวนการตรวจสอบความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือของเครื่องมือ มีสูตรการคำนวณค่าคะแนนเฉลี่ยของตัวชี้วัดอย่างเป็นมาตรฐาน สามารถนำไปเป็นเกณฑ์เพื่อใช้ในการเทียบเคียง ทั้งในภาพรวมระดับบุคคลและระดับองค์กรในประเทศไทยมีการเก็บข้อมูลระดับประเทศเป็นรายปี ระหว่างปี 2560 และ 2561 ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ และเก็บข้อมูลระดับองค์กรในทุกภาคธุรกิจ (Sectors) กระจายไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ในปี 2560 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว ภายใต้โครงการ การสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุขเพื่อคนทำงานองค์กรในประเทศไทย มุ่งเป้าเพื่อสร้างเสริม “ครอบครัวมีสุขต้นแบบ” ของคนทำงานด้วย “โมเดลครอบครัวมีสุขต้นแบบ” ที่ต่อยอดจาก HEALTHY WORKPLACE INNOVATION MODEL โดยปรับรูปแบบเป็น กระบวนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน “ครอบครัวมีสุข” ด้วย 4 วัคซีน ได้แก่ วัคซีนอบอุ่น วัคซีนเข้มแข็ง วัคซีนสงบสุขและ วัคซีนพอเพียง ในกลุ่มภาคีเครือข่ายที่เป็นองค์กรแห่งความสุข จำนวน 122 องค์กร ในปี 2562 เพื่อเป็น “ครอบครัวมีสุข” “คนทำงานมั่นคง” “องค์กรมั่งคั่ง”
ผลการสำรวจ ครอบครัวมีสุขคนทำงานองค์กร พบ ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 68.7 เมื่อจำแนกตามวัคซีนทั้ง 4 ตัว พบว่า วัคซีนสงบสุข มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด (76.7) รองลงมาเป็น วัคซีนอบอุ่น (72.2) วัคซีนพอเพียง (64.9) และที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ วัคซีนเข้มแข็ง (60.0) (ดูแผนภาพ 2)
แผนภาพ 2: HAPPY FAMILY MODEL: การสำรวจครอบครัวมีสุขคนทำงานองค์กรปี 2562
ผลการศึกษาวิจัยทั้ง 2 โครงการดังกล่าว นำไปสู่ ประเด็นคำถาม ว่า กระบวนการศึกษาวิจัย ด้วย “มโนทัศน์ใหม่” ด้วย “นวัตกรรมการศึกษาวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ด้วยรูปแบบใหม่” เดินมาถูกทางแล้วหรือไม่ อย่างไร จึงเป็นประเด็นที่ท้าทายและน่าติดตามต่อไป
ที่มา: ผลการสำรวจความสุขคนทำงานองค์กร ระดับประเทศ พ.ศ. 2561 (ไตรมาส 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2561) สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562; รายงานผลเบื้องต้น โครงการ “การสร้างเสริมครอบครัวอบอุ่นและมีสุขเพื่อคนทำงานองค์กรในประเทศไทย, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562.
ภาพปก freepik.com (premium license)
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
อมรา สุนทรธาดา
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
อมรา สุนทรธาดา
นงเยาว์ บุญเจริญ
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
สุชาดา ทวีสิทธิ์
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ณปภัช สัจนวกุล
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต