โดย อ.ดร.สุดปรารถนา ดวงแก้าว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาล้ัยมหิดล
ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 คนญี่ปุ่นยุคเบบี้บูม (กลุ่มคนเหล่านี้เกิดระหว่างปี 1947-1949 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งยุติลง) เริ่มเกษียณอายุการทำงาน รัฐบาลญี่ปุ่นตระหนักถึงภาระค่าใช้จ่ายในระบบเงินบำนาญและระบบประกันสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ญี่ปุ่นส่งเสริมให้คนวัยเกษียณเดินทางไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ จนมีเสียงวิพากย์วิจารย์ว่าญี่ปุ่นส่งออกคนแก่เสมือนส่งออกรถยนต์ไปยังตลาดตะวันตก จนกระทั่งปี 1992 รัฐบาลญี่ปุ่นจึงก่อตั้งสมาคมลองสเตย์แห่งญี่ปุ่นขึ้นเพื่อสนับสนุนการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเดินทางไปใช้ชีวิตที่ต่างประเทศระยะยาว จนกระแส “ลองสเตย์” และนิยามคำนี้ว่าเป็นการไปเพื่อเรียนรู้หาประสบการณ์ใหม่ๆ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับคนท้องถิ่น
ช่วงปลายทศวรรษ 1990 ประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะมาเลเซียและไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่อบอุ่น เดินทางสะดวก และค่าครองชีพถูกกว่าที่ญี่ปุ่น นอกจากนี้รัฐบาลประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตอบรับโดยการเสนอวีซ่าสำหรับลองสเตย์เยอร์หรือผู้พำนักระยะยาว เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและนำรายได้เข้าสู่ประเทศในระยะยาว
การเข้ามาของคนญี่ปุ่นสูงวัยในประเทศไทยทำให้เกิดประเด็นหลายประการเกี่ยวกับการปรับตัววิถีชีวิต และการแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมนำมาซึ่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม เกิดกระแสการท่องเที่ยวแบบระยะยาว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การก่อตัวของชุมชนคนญี่ปุ่น การแลกเปลี่ยนระหว่างสองวัฒนธรรม รวมถึงการต่อรองด้านมาตรการตรวจคนเข้าเมืองและเงื่อนไขในการได้รับอนุญาตพำนักในเมืองไทย
Facebook Link: https://fb.watch/36cDAI8wT-/
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ศุทธิดา ชวนวัน
อารี จำปากลาย
วรรณี หุตะแพทย์,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
อมรา สุนทรธาดา
สุดปรารถนา ดวงแก้ว
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล