The Prachakorn

พิธีในยุคโควิด-19


วรชัย ทองไทย

05 พฤศจิกายน 2563
527



โควิด-19 (COVID-19) มีชื่อเต็มว่า Coronavirus disease 2019 เป็นโรคในกลุ่มระบบทางเดินหายใจ ที่สามารถติดต่อกันได้ทางอากาศ  วิธีป้องกันคือ เว้นระยะห่าง (social distancing) และสวมหน้ากาก  ทำให้พิธีต่าง ๆ ในช่วงนี้ต้องเปลี่ยนโฉมไป  จากที่เคยจัดในอาคารและมีผู้ชมเต็มพื้นที่ เป็นจัดนอกอาคาร จัดในอาคารที่มีผู้ชมเพียงร้อยละ 25 หรือจัดแบบไม่มีผู้เข้าชมเป็นต้น เช่น จัดออนไลน์ (online)

ด้วยเหตุนี้ พิธีมอบรางวัลอีกโนเบลครั้งที่ 30 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563 เวลา 18 นาฬิกา  จึงเป็นการจัดออนไลน์ ที่โรงละครแซนเดอรส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เหมือนกับปีก่อนหน้า ได้แก่ ปาเครื่องบินกระดาษ สุนทรพจน์ต้อนรับ แนะนำผู้แจกรางวัลอีกโนเบล ซึ่งเป็นผู้ที่เคยได้รับรางวัลโนเบล (จริง) ประกาศรางวัลอีกโนเบล อุปรากรสั้น ปาฐกถายี่สิบสี่เจ็ด (24/7 lecture) และสุนทรพจน์อำลา

เนื่องด้วยใจความหลัก (theme) ของพิธีในปีนี้คือ บัคส์ (Bugs) ที่อาจหมายถึง แมง แมลง และบัคส์อื่น ๆ  ดังนั้น ถ้วยรางวัลอีกโนเบลที่มอบให้กับผู้ได้รับรางวัล จึงเป็นกล่องกระดาษที่มีรูป แมลงสาบ เหา คอมพิวเตอร์บัคส์ เชื้อไวรัสบัคส์ และรถเต่า (Volkswagen Bug) (ดังรูป) และอุปรากรสั้นก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบัคส์เช่นกัน ชื่อ "ความฝันของแมลงสาบตัวเล็ก (Dream, Little Cockroach)”

ภาพ screenshot จาก webcast พิธีมอบรางวัลอีกโนเบลครั้งที่ 30
ที่มา: https://www.improbable.com/ig-about/the-30th-first-annual-ig-nobel-prize-ceremony/  
สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563

รางวัลอีกโนเบลในปีนี้มี 10 สาขา คือ

  • สาขาสวนศาสตร์ (อ่านว่า สะ-วะ-นะ-สาด) (acustics) มอบให้กับนักวิจัยชาวออสเตรีย สวีเดน ญี่ปุ่น อเมริกัน และสวิส (Stephan Reber, Takeshi Nishimura, Judith Janisch, Mark Robertson และ Tecumseh Fitch)  ที่ร่วมกันวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสียงคำรามของจระเข้จีนตัวเมีย  ที่อยู่ในห้องบรรจุก๊าซฮีเลียม
  • สาขาจิตวิทยา มอบให้กับนักวิจัยชาวแคนาดาและอเมริกัน (Miranda Giacomin และ Nicholas Rule)  ที่ได้คิดค้นวิธีที่จะชี้ว่า ใครเป็น "คนหลงตนเอง" ด้วยการดูที่คิ้ว
  • สาขาสันติภาพ มอบให้กับรัฐบาลประเทศอินเดียและปากีสถาน  ที่ได้ให้นักการฑูตของตนไปกดกริ่งหน้าบ้านของนักการฑูตประเทศตรงข้ามกลางดึก  แล้ววิ่งหนีไปก่อนที่จะมีคนในบ้านมาเปิดประตู
  • สาขาฟิสิกส์ มอบให้กับนักวิจัยชาวออสเตรเลีย 2 คน (Ivan Maksymov และ Andriy Pototsky)  ที่ได้ทำวิจัยทดลองว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับรูปร่างของไส้เดือนดินมีชิวิต ที่ถูกสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง
  • สาขาเศรษฐศาสตร์ มอบให้กับนักวิจัย 9 คน จากประเทศสหราชอาณาจักร โปแลนด์ ฝรั่งเศส บราซิล ชิลี โคลอมเบีย ออสเตรเลีย (Christopher Watkins, Juan David Leongómez, Jeanne Bovet, Agnieszka Żelaźniewicz, Max Korbmacher, Marco Antônio Corrêa Varella, Ana Maria Fernandez, Danielle Wagstaff และ Samuela Bolgan)  ที่ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความไม่เสมอภาคของรายได้ประชาชาติ กับค่าเฉลี่ยของการจูบปาก
  • สาขาการจัดการ (management) มอบให้กับนักฆ่าอาชีพชาวจีน 5 คน (Xi Guang-An, Mo Tian-Xiang, Yang Kang-Sheng, Yang Guang-Sheng และ Ling Xian Si)  ที่ได้บริหารจัดการสัญญาจ้างให้ทำฆาตกรรม ด้วยการส่งต่อการจ้างที่หักค่าหัวคิวแล้ว ออกไปเป็นลูกโซ่ดังนี้  หลังจากที่ Xi Guang-An ได้รับเงินค่าจ้างก็ส่งต่อให้ Mo Tian-Xiang ซึ่งส่งต่อให้ Yang Kang-Sheng ซึ่งส่งต่อให้ Yang Guang-Sheng ซึ่งส่งต่อให้ Ling Xian Si จนมีผลให้แต่ละคนได้รับเงินค่าจ้างน้อยลง และไม่มีใครสักคนที่ทำงาน
  • สาขากีฎวิทยา มอบให้กับนักวิจัยอเมริกัน (Richard Vetter)  ที่ได้รวบรวมหาหลักฐานเพื่อบอกว่า  มีนักกีฎวิทยา (entomologist : นักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญทางแมลง) หลายคนที่กลัวแมงมุม ซึ่งไม่ใช่แมลง (แมลงมี 6 ขา แมงมี 8 ขา)
  • สาขาแพทยศาสตร์ มอบให้กับนักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม 3 คน (Nienke Vulink, Damiaan Denys และ Arnoud van Loon)  ในการได้ค้นพบวิธีวินิจฉัยโรคเกลียดเสียง (misophonia) เช่น เสียงคนเคีัยวอาหาร เสียงหายใจดัง เสียงเคาะโต๊ะ อันเป็นเสียงที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ  ซึ่งแตกต่างจากโรคกลัวเสียง (phonophobia) ที่กลัวเสียงดัง
  • สาขาแพทยศาสตร์ศึกษา มอบให้กับผู้นำของประเทศบราซิล สหราชอาณาจักร อินเดีย เม็กซิโก เบลารุส สหรัฐอเมริกา ตุรกี รัสเซีย และเติร์กเมนิสถาน  ที่ได้ใช้สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 สอนให้คนทั้งโลกรู้ว่า  นักการเมืองสามารถกำหนดความเป็นความตายของผู้คน ได้มากกว่าหมอและนักวิทยาศาสตร์
  • สาขาวัสดุศาสตร์ (materials science) มอบให้กับนักวิจัยจากสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 7 คน (Metin Eren, Michelle Bebber, James Norris, Alyssa Perrone, Ashley Rutkoski, Michael Wilson และ Mary Ann Raghanti)  ที่ได้สาธิตให้เห็นว่า มีดที่ทำจากอุจจาระคนแช่แข็ง จะใช้งานได้ไม่ดี

รางวัลอีกโนเบล: รางวัลที่ขบขันแต่ชวนให้คิด

หมายเหตุ : ปรับปรุงจาก “พิธีในยุคโควิด-19” ใน ประชากรและการพัฒนา 41(1) ตุลาคม-พฤศจิกายน 2563:8



CONTRIBUTOR

Related Posts
การหลงตัวเอง

วรชัย ทองไทย

ยกทรง

วรชัย ทองไทย

วิถีใหม่

วรชัย ทองไทย

สมมุติฐาน

วรชัย ทองไทย

คณิตศาสตร์

วรชัย ทองไทย

โรคอ้วน

วรชัย ทองไทย

ตบมือหรือปรบมือ

วรชัย ทองไทย

กฎหมาย

วรชัย ทองไทย

เจรจาชอบ

วรชัย ทองไทย

กายิกสุข

วรชัย ทองไทย

การเดินทางของชุดครุย

ณัฐนี อมรประดับกุล,ณปภัช สัจนวกุล

พิธีมงคลสมรสที่จัดในวัด

ปราโมทย์ ประสาทกุล

พิธีในยุคโควิด-19

วรชัย ทองไทย

พิธีกร

วรชัย ทองไทย

การเดินทางไกลที่คุ้มค่า

ปราโมทย์ ประสาทกุล

พิธีและพิธีกรรม

วรชัย ทองไทย

ขั้นตอนวิธี (algorithm)

วรชัย ทองไทย

ด้วยรักและโรคระบาด

ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ

เลี้ยงลูกในยุคโรคระบาด

มนสิการ กาญจนะจิตรา

เมื่อโควิด-19 กำลังจะผ่านไป

ปราโมทย์ ประสาทกุล

การเลียนแบบ

วรชัย ทองไทย

นักการเมือง

วรชัย ทองไทย

การพนัน

วรชัย ทองไทย

ทางช้างเผือก

วรชัย ทองไทย

โลกร้อน

วรชัย ทองไทย

ศีล 5

วรชัย ทองไทย

หาว

วรชัย ทองไทย

สัญญา (Perception)

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th