The Prachakorn

พิธีและพิธีกรรม


วรชัย ทองไทย

01 ตุลาคม 2563
3,576



ถึงแม้ว่า พิธี (ceremony) และพิธีกรรม (ritual) จะเป็นคำที่ใช้แทนกัน แต่ในความหมายที่แท้จริงนั้นแตกต่างกัน ดังที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า พิธี คือ “งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีมงคลสมรส พิธีประสาทปริญญา” หรือ “แบบอย่าง ธรรมเนียม เช่น ทำให้ถูกพิธี” ส่วนพิธีกรรมคือ “การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา”

ในภาษาอังกฤษ ceremony (พิธี) หมายถึง การกระทำที่ดำเนินการเป็นกลุ่ม โดยมีจุดมุ่งหมายให้คนมารวมกันในโอกาศพิเศษ ในพิธีจะมีการเฉลิมฉลองหรือการแสดงต่าง ๆ เช่น ดนตรี เต้นรำ ละคร กระบวนแห่ บางครั้งพิธีจะจัดขึ้นในกรณีเปลี่ยนผ่านของชีวิต เช่น การเกิด การสำเร็จการศึกษา การแต่งงาน การเกษียรอายุ งานศพ นอกจากนี้ พิธียังจัดขึ้นเพื่อฉลองเหตุการณ์สำคัญ เช่น พิธีบรมราชาภิเษก พิธีฉลองชัยชนะสงคราม อีกด้วย

ในพิธีจะมีการประกาศคำแถลงการณ์หรือคำสาบาน เช่น "ข้าพเจ้าขอประกาศให้ท่านทั้งสองเป็นสามีภรรยากัน" "ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬา" "ข้าพเจ้าขอสาบานว่าจะรับใช้และป้องกันประเทศด้วยชีวิต"

สำหรับ ritual (พิธีกรรม) หมายถึง การกระทำที่ดำเนินการคนเดียวหรือหลายคน ตามระเบียบแบบแผนทางศาสนา พิธีกรรมจะไม่มีการแสดงหรือการเฉลิมฉลอง และไม่มีการประกาศแถลงการณ์หรือสาบาน แต่จะมีการบวงสรวง การล้างมลทิน การทำให้บริสุทธิ์แทน

อย่างไรก็ตาม การที่คำทั้งสองใช้แทนกันได้ ทำให้ความหมายตามรากศัพท์เลือนไป ทั้งในภาษาไทยและอังกฤษ  ในปัจจุบัน "พิธี" หรือ "ceremony” เป็นคำที่ถูกใช้มากกว่า แม้แต่ในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีเวียนเทียน พิธีอุปสมบท พิธีถวายสังฆทาน

สรุปแล้ว พิธีหรือพิธีกรรมจึงเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อความขลัง ความศักสิทธิ์ หรือความเป็นสิริมงคล เป็นอุบายให้คนมาร่วมทำกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียงกัน รวมทั้งให้คนได้เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมที่จะทำเรื่องนั้น ๆ

พิธีจะมีกระบวนการ กฎระเบียบ และข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม เช่น กำหนดการ การแต่งกาย การวางตัว สิ่งของที่ต้องเตรียมมา ดังนั้น ผู้เข้าร่วมพิธีจึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในพิธี ก่อนที่จะเข้าร่วม ในบางครั้งอาจต้องมีการฝึกซ้อมก่อน เช่น พิธีสวนสนาม พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีรับปริญญา

เพราะรางวัลอีกโนเบลเป็นรางวัลล้อเลียน พิธีมอบรางวัลจึงไม่เป็นทางการ และแฝงไปด้วยด้วยอารมณ์ขัน แต่ก็ไม่ได้ไร้สาระเช่นกัน เพราะ Nature ซึ่งเป็นวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์เก่าแก่ (ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412) ได้กล่าวถึงพิธีมอบรางวัลอีกโนเบลว่า "พิธีมอบรางวัลอีกโนเบลถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญทางวิทยาศาสตร์ในรอบปี"

พิธีมอบรางวัลอีกโนเบลมีเอกลักษณ์ของตนเองที่ทำเป็นประจำ เช่น ผู้รับรางวัลอีกโนเบลจะได้รับรางวัลจากมือของผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล (จริง) การแสดงปาฐกถายี่สิบสี่เจ็ด (24/7 lecture) การแสดงละครร้องสั้น (mini-opera) การปาเป้าด้วยเครื่องบินกระดาษ

สำหรับรางวัลโนเบล (จริง) จะมอบให้กับผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่นใน 6 สาขา คือ ฟิสิกส์ เคมี  สรีรวิทยาหรือการแพทย์ วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์

แต่ผู้ที่ได้รับรางวัลอีกโนเบลคือ ผู้ที่ได้ทำสิ่งที่ทำให้คนต้องหัวเราะเสียก่อน แล้วต่อมาจึงฉุกคิดได้ โดยสิ่งที่ทำนั้นอาจเป็นผลงานวิจัย การศึกษา การกระทำ หรือการออกกฎระเบียบหรือกฎหมาย ทำให้จำนวนสาขาของรางวัลอีกโนเบลมีมากถึง 50 สาขา ในช่วงเวลา 25 ปี ที่ได้มีการมอบรางวัลฯ โดยในแต่ละปีจะมีผู้ได้รับรางวัลฯ 10 รางวัล

สาขาที่มีผู้ได้รับรางวัลอีกโนเบลทุกปี คือ การแพทย์ รองลงไปคือ ฟิสิกส์ เคมี วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์ ที่มีผู้ได้รับเกือบทุกปี อันเป็นสาขาที่ตรงกับสาขาของรางวัลโนเบล (จริง) สำหรับสาขาที่อยู่นอกเหนือรางวัลโนเบล (จริง) แต่มีผู้ได้รับรางวัลอีกโนเบลเกือบทุกปีเช่นกัน คือ ชีววิทยา 23 ครั้ง

ส่วนสาขาที่ได้รับรางวัลอีกโนเบลรองลงไปเรียงตามลำดับคือ จิตวิทยา 11 ครั้ง สาธารณสุข 9 ครั้ง คณิตศาสตร์ 7 ครั้ง โภชนาการ 7 ครั้ง โบราณคดี 3 ครั้ง ศิลปะ 3 ครั้ง วิศวกรรม 3 ครั้ง และกีฏวิทยา 3 ครั้ง สำหรับสาขาที่มีผู้ได้รับรางวัลอีกโนเบลเพียง 2 ครั้ง มี 9 สาขา และที่เหลืออีก 26 สาขา ได้รับรางวัลเพียงครั้งเดียว จึงกล่าวได้ว่า จะมีผู้รับรางวัลอีกโนเบลในสาขาใหม่ ๆ เกือบทุกปี

พิธีมอบรางวัลอีกโนเบลในปีนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 26 จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559 เวลา 6 โมงเย็น และจะมีการถ่ายทอดสดทาง webcast ด้วย (ดังรูป) สำหรับผู้สนใจในรายละเอียด ก็สามารถคลิก (click) ไปที่ http://www.improbable.com/ig/2016/


แผ่นประชาสัมพันธ์พิธีมอบรางวัลอีกโนเบล ครั้งที่ 26
ที่มา : https://www.improbable.com/ig/2016/images/2016_IgPoster.pdf
สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2559

รางวัลอีกโนเบล : รางวัลสำหรับงานวิจัย "ที่ทำให้หัวเราะก่อนคิด"


หมายเหตุ : ปรับปรุงจาก “พิธีและพิธีกรรม” ใน ประชากรและการพัฒนา 36(6) สิงหาคม-กันยายน 2559:8



CONTRIBUTOR

Related Posts
พาพ่อกลับกรีนแลนด์

อมรา สุนทรธาดา

พิธีกร

วรชัย ทองไทย

เครื่องบินกระดาษ

วรชัย ทองไทย

เครื่องดนตรี

วรชัย ทองไทย

พิธีมงคลสมรสที่จัดในวัด

ปราโมทย์ ประสาทกุล

ขั้นตอนวิธี (algorithm)

วรชัย ทองไทย

พิธีและพิธีกรรม

วรชัย ทองไทย

รางวัลล้อเลียน

วรชัย ทองไทย

นักการเมือง

วรชัย ทองไทย

ยกทรง

วรชัย ทองไทย

ตบมือหรือปรบมือ

วรชัย ทองไทย

ศีล 5

วรชัย ทองไทย

การเลียนแบบ

วรชัย ทองไทย

ทางช้างเผือก

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th