The Prachakorn

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย


10 กุมภาพันธ์ 2564
396



ดร.ดิษย์ มณีพิทักษ์
กองมาตรฐานการประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง

สภาพสังคมไทยแบบ ‘รวยกระจุก จนกระจาย’ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญของประเทศ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการถือครองทรัพย์สินโดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่มีต้นทุนต่ำมากเมื่อเทียบกับในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการสะสมทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นได้ ผู้ที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์มากก็สามารถใช้ทรัพย์นั้น ๆ หาประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการเก็งกำไรที่ดิน การใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อกู้เงินมาลงทุน รายได้ค่าเช่า ฯลฯ ในอดีตที่ผ่านมา ภาพที่ขาดหายไปจากระบบการคลังของไทยคือภาษีที่ดินที่มีโครงสร้างที่เหมาะสม โดยภาษีดังกล่าวต้องจัดเก็บต่อเนื่องทุกปีจากการถือครองอสังหาริมทรัพย์ เก็บจากฐานภาษีที่กว้าง และเก็บจากที่ดินในอัตราที่สูงกว่าสิ่งปลูกสร้างเพราะเป็นการแก้ปัญหาผลตอบแทนส่วนเกินหรือที่เรียกว่าค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic Rent) ที่ตรงจุดมากที่สุด ความพยายามปฏิรูประบบภาษีที่ดินฯ โดยการควบรวมภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่มีมาตั้งแต่ปี 2537 ในยุครัฐบาลนายชวน หลีกภัย แนวคิดดังกล่าวได้ผ่านการปรับเปลี่ยนจากรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย จนกระทั่งในปี 2563 จึงได้มีการเริ่มเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นครั้งแรกตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ในการเสวนาใต้ชายคาประชากรครั้งนี้ ผู้บรรยายจะขอนำเสนอผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมไปถึงบทบาทของภาษีฯ ในการบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินผ่านแว่นของเศรษฐศาสตร์การคลังและนคราศึกษา

Facebook Link: https://fb.watch/3DgInP0yLy/



CONTRIBUTOR

Related Posts
เวลา

วรชัย ทองไทย

รางวัลล้อเลียน

วรชัย ทองไทย

HAPPY FAMILY TALK

กัญญาพัชร สุทธิเกษม

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th