The Prachakorn

ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับ


ฐิติกร โตโพธิ์ไทย

15 กรกฎาคม 2563
769



การมีกิจกรรมทางกายเป็นวิธีการส่งเสริมและดูแลสุขภาพที่สำคัญ มีงานวิจัยมากมายชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ที่ไม่เพียงแต่จะดีต่อสุขภาพและช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย การมีกิจกรรมทางกายยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้อีกด้วย ปัจจุบันคำแนะนำด้านการมีกิจกรรมทางกายของหลายประเทศได้ปรับข้อแนะนำให้ครอบคลุมพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่ทุกคนต้องมีเป็นประจำใน 1 วัน ได้แก่ กิจกรรมทางกาย พฤติกรรมเนือยนิ่ง (หรือการนั่งเป็นเวลานาน) และการนอนหลับ ประเทศไทยนับเป็นประเทศแรกๆ ที่ได้พัฒนาไกด์ไลน์ที่รวมทั้ง 3 พฤติกรรมเข้าด้วยกัน ข้อแนะนำการส่งเสริมพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายฉบับนี้ มีกระบวนการพัฒนา 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การทบทวนวรรณกรรมจากต่างประเทศที่มีการจัดทำข้อแนะนำมาก่อน และใช้การหารือร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาให้สอดคล้องกับบริบทประชากรไทยมากที่สุด ข้อแนะนำฯ ของไทยยังได้พัฒนาให้เหมาะสมครอบคลุมทุกกลุ่มวัย แบ่งเป็น 5 กลุ่มประชากร ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) วัยเด็กและวัยรุ่น (6-17 ปี) วัยผู้ใหญ่ (18-59 ปี) และวัยผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)

Facebook Link: https://www.facebook.com/255818394487885/videos/767619677374643



CONTRIBUTOR

Related Posts
COVID-19 โรคเปลี่ยนโลก

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา

อนาคตเด็กไทยหน้าติดจอ

นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง

คนไทยกับกิจกรรมทางกาย

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์

อาชีพกับเรื่องอ้วนๆ

จงจิตต์ ฤทธิรงค์

การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ

กรกนก พงษ์ประดิษฐ์,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th