ผู้เขียนยังขอเกาะกระแสสถานการณ์ปัจจุบัน เขียนบทความเกี่ยวกับโรคโควิด-19 แต่คราวนี้เน้นเอาใจกลุ่มนักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย หรือประชาชนที่สนใจข้อมูลวิจัย โดยรวบรวม 5 บทความวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 และถูกอ้างอิงมากที่สุดในขณะนี้
ผู้เขียนเก็บข้อมูล ณ วันที่ 7 พฤษภาคม ปี 2564 โดยเริ่มจากเลือกเฉพาะวารสารวิชาการด้านสังคมศาสตร์ที่อยู่ใน 50 อันดับแรกตามค่าดัชนีวัดคุณภาพวารสาร (SCImago Journal Rank) ของฐานข้อมูลวารสารวิชาการนานาชาติ SCOPUS จากนั้นเข้าเว็บไซต์แต่ละวารสาร เพื่อเลือกบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ระหว่างเดือนมกราคม ปี 2563 ถึงเดือนเมษายน ปี 2564 และมีจำนวนครั้งที่ถูกอ้างอิงมากที่สุด และสุดท้าย นำบทความมาเรียงลำดับเพื่อเลือกเพียง 5 บทความที่มีคนอ้างอิงสูงสุด
บทความ 5 อันดับแรก เป็นการศึกษาผลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศทั้งสิ้น ซึ่งในระยะเวลาเพียงปีกว่า บทความบางชิ้นถูกนำไปอ้างอิงมากกว่า 300 ครั้ง
การศึกษานี้คาดประมาณการลดลงของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในช่วงที่มีการปิดประเทศและออกมาตรการให้ประชาชนกักตัวอยู่บ้าน โดยพบว่า การปล่อยก๊าซฯ แต่ละวันในระดับโลกลดลงถึง 17% (ข้อมูล ณ ต้นเดือนเมษายน ปี 2563) เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยปี 2562 คาดการณ์ว่า หากสถานการณ์ระบาดกลับสู่ภาวะปกติภายในกลางเดือนมิถุนายน ปี 2563 การปล่อยก๊าซฯ จะลดลง 2-7% แต่ถ้ายังใช้มาตรการดังกล่าวต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี 2563 การปล่อยก๊าซฯ จะลดลง 3-13%
การศึกษานี้ประเมินผลกระทบด้านคุณภาพอากาศในเขตเมืองจากมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจีน โดยคำนวณค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index: AQI) และดูความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) โดยพบว่า มาตรการล็อกดาวน์ช่วยทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น โดยค่า AQI ในเมืองที่มีมาตรการล็อกดาวน์ ลดลงไป 19.84 จุด (ค่า PM2.5 ลดลงไป 14.07 µg/m3) นอกจากนี้ ยังพบค่า AQI ลดลงมากที่สุดในเมืองที่มีความเป็นอุตสาหกรรมมากกว่า รายได้สูงกว่า และมีอากาศเย็นกว่า อย่างไรก็ตาม ระดับ PM2.5 ในช่วงล็อกดาวน์ของประเทศจีน ยังคงสูงกว่าระดับที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 4 เท่า
การศึกษานี้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมลพิษทางอากาศและการเสียชีวิตจากสาเหตุที่ป้องกันได้ ในช่วงที่ประเทศจีนใช้มาตรการกักตัวขนาดใหญ่ โดยพบว่า มาตรการที่เน้นจัดการการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้คุณภาพอากาศของประเทศดีขึ้น ซึ่งมีอิทธิพลสำคัญในการช่วยลดการตายของคนจีนจากสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคโควิด-19 คิดเป็นจำนวนที่มากกว่าจำนวนการตายจากโรคโควิด-19 (ตาย 4,633 คน ณ วันที่ 4 พฤษภาคม ปี 2563)
การศึกษานี้คาดประมาณการลดลงของการปล่อยก๊าซพิษในระดับโลก ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน ปี 2563 โดยพบว่า การปล่อยออกไซด์ของไนโตรเจนลดลงมากถึง 30% ซึ่งส่งผลให้อากาศเย็นลงในช่วงระยะสั้นๆ ตอนต้นปี ซึ่งแนวโน้มอากาศที่เย็นลงนี้ เป็นผลพวงจากการลดลงของการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะโรคร้อน โดยคาดการณ์ว่า สถานการณ์แพร่ระบาดนี้มีผลโดยตรงต่อการทำให้อุณหภูมิโลกเย็นลง 0.01 ±0.005°C ภายในปี 2573
บทความนี้อภิปรายประเด็นคำถามว่า การแพร่ของโรคโควิด-19 ลดลงในอากาศที่ร้อนและชื้นจริงหรือไม่ ซึ่งจากการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า ฤดูกาลไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้การแพร่ของโรคโควิด-19 ลดลง แม้ว่าอากาศที่อุ่นขึ้นอาจจะช่วยลดการแพร่ได้บ้างเล็กน้อย แต่ยังไม่มีหลักฐานวิจัยบ่งชี้ชัดเจนว่า สภาพอากาศที่อุ่นขึ้นจะช่วยลดประสิทธิภาพการแพร่ของโรคนี้ได้
แม้ว่าบทความทั้ง 5 เรื่อง สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่างานวิจัยที่ต้องทำแข่งกับเวลา เพื่อตอบสนองสถานการณ์ของประเทศและโลก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า บทความที่ถูกอ้างอิงน้อย จะหมดความสำคัญไป เพราะบทความกลุ่มนี้ อาจมีคุณค่าต่อการนำไปใช้ในบริบทที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า เท่านั้นเอง
ภาพโดย: Dimitry B บน Unsplash สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564
ภาพโดย: Zach Rowlandson บน Unsplash สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564
อ้างอิง
อมรา สุนทรธาดา
พรสุรีย์ จิวานานนท์
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
สิรินทร์ยา พูลเกิด
ปราโมทย์ ประสาทกุล
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
สาสินี เทพสุวรรณ์
นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์
ดนุสรณ์ โพธารินทร์
วรชัย ทองไทย
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
ศุทธิดา ชวนวัน
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ปราโมทย์ ประสาทกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ศุทธิดา ชวนวัน
มนสิการ กาญจนะจิตรา
สุภิรัฐพงศ์ พงศ์ศักดิ์ศรี
มนสิการ กาญจนะจิตรา
จีรวรรณ หงษ์ทอง
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ศุทธิดา ชวนวัน
นงนุช จินดารัตนาภรณ์