จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงประมาณปลายปี 2562 และได้แพร่ระบาดกระจายไปทั่วโลก ทำให้ทุกรัฐบาล รวมถึงรัฐบาลไทย ต่างออกมาตรการหลายอย่างเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 มีการยืนยันอย่างเป็นทางการถึงการตรวจพบผู้ป่วย COVID-19 รายแรกที่เดินทางมาจากประเทศจีนภายในประเทศไทยเป็นครั้งแรก1 กระทั่งปลายเดือนมกราคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขของไทยได้ยืนยันอย่างเป็นทางการถึงการตรวจพบผู้ป่วยชาวไทยภายในประเทศที่ไม่มีประวัติการเดินทางไปต่างประเทศเลย2 จำนวนผู้ป่วยในประเทศไทยเริ่มมากขึ้นหลายร้อยคนในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 และแพร่ระบาดต่อเนื่องภายในประเทศเป็นระลอกจนถึงปัจจุบัน (มิถุนายน 2564) ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศยังไม่มีแนวโน้มว่าจะคลี่คลายลง อย่างไรก็ตาม มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ของรัฐบาลไทยที่สื่อสารออกมานับตั้งแต่มีการระบาด ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย (Face mask) การเว้นระยะห่างทางกายเพื่อลดการสัมผัส (Physical distancing) และการอาศัยอยู่บ้าน (Stay home) ล้วนเป็นมาตรการที่ก่อให้เกิดผลดีในแง่สุขภาพของประชาชน แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งได้สร้างผลเสียหรือผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและความยากลำบากในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้คนในสังคม
ภายหลังการประกาศใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมได้ปรับเปลี่ยนไปจากรูปแบบเดิม โดยเฉพาะการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีความลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ เมื่อกล่าวถึงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmentally Responsible Behavior: ERB) ตามที่นักวิชาการได้ให้คำนิยามไว้ว่า
การแสดงออกถึงพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย และ/หรือ ตัวแปรที่ส่งผลต่อการแสดงถึงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ความรู้และกฎระเบียบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทัศนคติที่มีต่อสิ่งแวดล้อม การกระทำจากบุคคลอื่นที่ปฏิบัติในเชิงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจนมีอิทธิพลให้อยากแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม4
และจากคำนิยาม ปัจจัย/ตัวแปรต่าง ๆ ที่ระบุเมื่อนำมาเทียบกับสภาพแวดล้อมจากมาตรการการป้องกันของภาครัฐที่สื่อสารออกมาจะพบว่า เป็นการสร้างปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและเกิดความลำบากของผู้คนในการแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า ซึ่งผู้เขียนขอยกตัวอย่าง 3 พฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่โยงกับเรื่องสิ่งแวดล้อม และเกิดความยากลำบากในการประพฤติปฏิบัติเพื่อรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ที่สื่อสารออกมา ดังนี้
ในยุคที่สังคมทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยให้ความสำคัญกับการลดการใช้พลาสติก ประกอบกับความนิยมของการดื่มกาแฟและเครื่องดื่มชงเพิ่มมากขึ้น จึงก่อให้เกิดความพยายามของผู้คนในการแสดงพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการหันมาใช้แก้ว/กระบอกน้ำทัมเบลอร์ส่วนตัวเพื่อใช้ดื่มน้ำที่สามารถเก็บกักความเย็นหรือความร้อนจากเครื่องดื่มตามอุณหภูมิที่เหมาะสม ได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ประกอบกับรูปทรงและขนาดที่สวยหลากหลาย รูปแบบที่ออกแบบมาช่วยดึงดูดให้ผู้คนอยากมีไว้ใช้ส่วนตัว สามารถใช้งานได้บ่อย อีกทั้งทำความสะอาดได้ง่าย สะดวกกับการนำมาใช้ซ้ำได้ตลอด และช่วยลดปริมาณขยะจากแก้วพลาสติกได้ด้วย นอกจากนี้ หลายร้านค้าเครื่องดื่มได้ช่วยสนับสนุนผู้บริโภคด้วยการลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้าที่พกแก้ว/กระบอกน้ำทัมเบลอร์ส่วนตัวมาใช้บริการ ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกทั้งจากผู้ขายเครื่องดื่มและผู้บริโภคล้วนต่างส่งเสริมสนับสนุนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของของเชื้อ COVID-19 รัฐบาลทั่วโลกและรัฐบาลไทยได้ออกมาตรการป้องกันเพื่อลดการแพร่ระบาด ด้วยการป้องกันผู้คนให้ลดการสัมผัสระหว่างกันให้มากที่สุด ทั้งการสัมผัสทางกายและการสัมผัสจากสิ่งของ เพราะเชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถเกาะติดบนพื้นผิวสิ่งของได้นาน ดังนั้น มาตรการป้องกันของภาครัฐที่ออกมา ทำให้ร้านค้าเครื่องดื่มต้องออกมาตรการที่สอดรับกับมาตรการของภาครัฐด้วยการงดรับแก้ว/กระบอกน้ำทัมเบลอร์ส่วนตัวจากผู้บริโภคเพื่อลดการติดเชื้อจากการสัมผัส แต่มาตรการดังกล่าวเป็นการซ้ำเติมวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ปริมาณแก้วพลาสติกเพิ่มขึ้น สร้างความลำบากใจให้กับผู้บริโภคจำนวนหนึ่งที่พยายามใช้แก้ว/กระบอกน้ำทัมเบลอร์ส่วนตัวเพื่อลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ต้องหันกลับมาใช้แก้วพลาสติกตามเดิม สร้างภาระกับการคัดแยกขยะต่อผู้ขายเครื่องดื่ม ผู้บริโภค และผู้ที่ทำหน้าที่คัดแยกขยะ ที่สำคัญคือ จากงานวิจัยใน International Journal of Environmental Research and Public Health พบว่า เชื้อ COVID-19 สามารถเกาะติดอยู่บนพื้นผิวพลาสติกได้เป็นระยะเวลา 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน5 เป็นการเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นหากมีการสัมผัสพื้นผิวของวัตถุพลาสติกที่มีเชื้อไวรัสเกาะติดและถูกทิ้งออกไป จึงเป็นผลเสียที่สร้างความลำบากของพฤติกรรมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทางร้านค้าที่นำแก้วพลาสติกมาจนถึงปลายทางของการกำจัดแก้วพลาสติก
ภาพจาก Cholsiripong, T. (6 มิถุนายน 2564). Starbucks ออกกฎใหม่ งดรับแก้วส่วนตัวของลูกค้าชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19. 2563 สืบค้นจาก https://brandinside.asia/starbucks-ban-personal-cup-covid-19/
ภาพจาก Café Amazon Official Facebook Fan Page
มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ของภาครัฐที่ให้ร้านค้าต่าง ๆ ปิดร้าน ห้ามนั่งทานในร้านอาหาร ผู้บริโภคงดหรือลดการเดินทางเพื่อเว้นระยะห่างทางกายเพื่อลดการสัมผัส (Physical distancing) และการอาศัยอยู่บ้าน (Stay home) ทำให้ผู้คนหันมาสั่งอาหารผ่านระบบออนไลน์ (Food delivery) เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว และการสั่งอาหารผ่านระบบออนไลน์แต่ละครั้ง มักจะมีขยะจำนวน 7 ชิ้น ที่ตามมา ได้แก่ กล่องอาหาร ถุงใส่น้ำจิ้ม ช้อนพลาสติก ส้อมพลาสติก ถุงใส่ช้อนส้อม ถุงน้ำซุป และถุงพลาสติกหูหิ้วใส่อาหาร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นขยะจากภาคธุรกิจอาหารทั้งหมด มีการคาดการณ์ว่าขยะพลาสติกจากการสั่งผ่านระบบออนไลน์จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลายร้อยล้านชิ้น6 ซึ่งทำให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม เพราะปราศจากการกำจัดอย่างถูกวิธี แน่นอนว่าประชาชนส่วนใหญ่รู้ว่าขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นจะสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม แต่มาตรการดังกล่าวของภาครัฐทำให้ผู้คนจำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างความลำบากในการแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นการเพิ่มภาระยุ่งยากในการคัดแยกขยะและการกำจัดขยะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง สร้างความลำบากใจและรู้สึกผิดต่อผู้บริโภคที่ใส่ใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขณะที่ภาคธุรกิจบริการร้านอาหารออนไลน์มุ่งส่งเสริมการขายที่ให้ส่วนลดค่าอาหารและอุดหนุนค่าจัดส่งเช่นกันเพื่อเพิ่มยอดขายที่ดึงดูดผู้บริโภค จนมองข้ามมิติทางด้านสิ่งแวดล้อม และท้ายสุดจะนำไปสู่พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ยั่งยืนจากการสั่งอาหารออนไลน์ รวมถึงทัศนคติต่อมาตรการลดปัญหาขยะพลาสติกจะน้อยลง เพราะผู้คนเริ่มรู้สึกว่าไม่มีความสำคัญ การมีพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและลำบาก
ภาพจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (6 มิถุนายน 2564). ขยะจากฟู้ดเดลิเวอรี่ ปัญหาที่บรรเทาลงได้ด้วยการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง. 2564. สืบค้นจาก https://www.deqp.go.th/new/ขยะจากฟู้ดเดลิเวอรี่
มาตรการของภาครัฐที่กำหนดให้ผู้คนสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 แต่เมื่อใช้หน้ากากไประยะหนึ่ง การทิ้งเพื่อกำจัดหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีควรม้วนรัดด้วยอิลาสติกคล้องหู แล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกใสมัดให้แน่น ก่อนนำใส่ถังขยะสีแดงที่เป็นถังสำหรับใส่ขยะติดเชื้อ (Infectious waste) ข้อดีคือเป็นการเก็บกักและทำให้ปลายทางของผู้ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและคัดแยกขยะสามารถมองเห็นว่าสิ่งที่อยู่ในถุงคืออะไร ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทย ปริมาณขยะหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าภาครัฐจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังแสดงพฤติกรรมในการกำจัดหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างไม่ถูกวิธี เพราะอาจมองว่าข้อมูลที่ภาครัฐนำเสนอออกมาดูแล้วเป็นความยากลำบากยุ่งยากในการทำความเข้าใจและการประพฤติปฏิบัติรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับผู้คนยังไม่ได้ให้ความสำคัญที่จะกำจัดอย่างถูกต้อง ยังมองข้ามมิติสุขภาพและสิ่งแวดล้อมไป ทั้งที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้สัมผัสขยะที่อยู่ปลายทางที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และหน้ากากอนามัยมีส่วนประกอบที่ผลิตจากวัสดุย่อยสลายยาก เช่น พอลิโพรไพลีน (Polypropylene: PP) ทำให้มีปริมาณขยะมูลฝอยเป็นจำนวนมาก เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางน้ำและอากาศ7
ภาพจาก กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ และวิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ. (6 มิถุนายน 2564). ฮาวทูทิ้ง หน้ากากอนามัยให้ปลอดภัยกับสังคมและสิ่งแวดล้อม. 2563. สืบค้นจาก https://www.greennetworkthailand.com/ฮาวทูทิ้ง-หน้ากากอนามัย/
มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ของภาครัฐที่สื่อสารและออกมามีผลบังคับใช้แล้วไม่ควรทำให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ควรทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึก ทัศนคติ และมองว่าการแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและลำบาก แต่เป็นการทำให้ประชาชนอยากแสดงพฤติกรรมที่ช่วยสิ่งแวดล้อมออกมาอย่างแท้จริงและไม่รู้สึกเป็นภาระ ด้วยการให้ความรู้อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย และไม่ยุ่งยากซับซ้อนต่อการเรียนรู้และปฏิบัติ ภาครัฐควรสร้างสภาพแวดล้อมให้ประชาชนไม่รู้สึกว่าเมื่อปฏิบัติแล้วไม่ได้เป็นการรู้สึกเหมือนดิ้นรนและยุ่งยากในชีวิตประจำวันเพื่อแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
อ้างอิง
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
บุรเทพ โชคธนานุกูล
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
อมรา สุนทรธาดา
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
ดนุสรณ์ โพธารินทร์
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
วาทินี บุญชะลักษี
บุรเทพ โชคธนานุกูล
ศุทธิดา ชวนวัน
ปราโมทย์ ประสาทกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
เพ็ญพิมล คงมนต์
วรชัย ทองไทย
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
กัญญา อภิพรชัยสกุล
ปาริฉัตร นาครักษา
วรเทพ พูลสวัสดิ์
สรัญญา สุจริตพงศ์
รีนา ต๊ะดี
อมรา สุนทรธาดา
อารยา ศรีสาพันธ์
สุรีย์พร พันพึ่ง
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
ปราโมทย์ ประสาทกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น
ปรกชล อู๋ทรัพย์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์