ในขณะที่โลกกำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคที่มีความรุนแรงต่อชีวิต มีการกระจายอย่างกว้างขวางและมีผลต่อระบบสาธารณสุขโลก เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าขณะนี้ โควิด-19 ได้รบกวนวิถีชีวิต “ปกติ” ของเราหลายๆ คน ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และได้เปลี่ยนแปลงสังคม สิ่งแวดล้อม และความเป็นเมือง ทั้งในด้านบวกและลบควบคู่กันไป
จากรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อและการเสียชีวิตจากโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ พบว่า จำนวนที่สูงที่สุดอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการให้ประชากรเมืองโดยเฉพาะคนย้ายถิ่นที่อยู่กันอย่างหนาแน่น ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมการอยู่อาศัยในบ้านหรือชุมชนที่แออัด ไม่มีการระบายอากาศที่ดีย่อมทำให้โควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้อย่างง่าย และแพร่เชื้อไปยังผู้คนเป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว
ตัวชี้วัดระดับความเป็นเมืองมีวิธีการวัดในหลากหลายมิติ เช่น ด้านประชากรศาสตร์ วัดด้วยจำนวนและความหนาแน่นของประชากร ด้านเศรษฐศาสตร์วัดด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ ด้านสังคมศาสตร์และสิ่งแวดล้อมวัดด้วยคุณภาพชีวิตกับคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ด้านภูมิศาสตร์วัดด้วยการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมนอกภาคเกษตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำถามการวิจัยที่เกิดขึ้นในศาสตร์ต่างๆ ในที่นี้จะพูดถึงความเป็นเมืองในมิติทางประชากรศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นเข้าและออก ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนและความหนาแน่นของประชากร
วิกฤตโควิด-19 ทำให้ปรากฏการณ์การย้ายถิ่นออกจากเมืองใหญ่เกิดขึ้นทั่วโลก การศึกษาในประเทศไทยชี้ให้เห็นว่าการระบาดโควิด-19 ระลอก 1 และ 2 ตั้งแต่ ปี 2563 ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้คนออกจากเมืองใหญ่และเมืองศูนย์กลางธุรกิจและท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยข้อมูลจากการสำรวจการย้ายถิ่นของประชากรไทย พ.ศ. 25631 ชี้ให้เห็นว่า กรุงเทพมหานครมีจำนวนผู้ย้ายถิ่นออกมากที่สุดถึง 127,344 คนรองลงมาคือ ชลบุรี 55,906 คน เชียงใหม่ 50,702 คน ภูเก็ต 42,427 คน และระยอง 41,325 คน ตามลำดับ และภาคที่มีประชากรย้ายถิ่นเข้ามากที่สุดคือ ภาคอีสานและภาคเหนือ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาจาก Mobile big data จากฐานข้อมูลของ ทรู ดิจิทัลกรุ๊ป (True Digital Group)2 และ ดีแทค (Dtac)3 ที่รวบรวม ผ่านโทรศัพท์มือถือของประชากรทั้งคนไทยและต่างชาติ
สำมะโนประชากรของสหรัฐอเมริกาปี 2563 แสดงว่า ประมาณร้อยละ 0.5 ของประชากรในเมืองใหญ่คือ มหานครนิวยอร์ก นครลอสแองเจลิส ชิคาโก และซานฟรานซิสโก เป็นผู้ย้ายถิ่นออก ส่วนเมืองที่ได้ประชากรหรือมีผู้ย้ายถิ่นเข้าเพิ่มขึ้นนั้น ส่วนมากเป็นเมืองขนาดเล็กในรัฐต่างๆ ทางตอนใต้และตะวันตกของประเทศ4
ลักษณะของผู้ย้ายถิ่นออกจากเมืองใหญ่แตกต่างกัน ในประเทศไทย คนย้ายถิ่นออกส่วนมากเป็นแรงงานที่มีรายได้น้อยเป็นลูกจ้างรายวัน ทำงานในภาคบริการ เหตุผลที่สำคัญคือการขาดรายได้ จากการถูกเลิกจ้าง หรือ ถูกลดชั่วโมงการทำงาน รวมทั้งไม่สามารถแบกรับค่าครองชีพในเมืองใหญ่ ในขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา คนที่ย้ายออกจากเมืองใหญ่มักเป็นคนมีรายได้สูง จึงสามารถเลือกที่อยู่อาศัยได้อย่างอิสระ เนื่องจากสามารถทำงานจากบ้าน (work from home) ได้ในทุกที่ ต้องการอยู่ใกล้ครอบครัว และลดค่าครองชีพด้วยการอาศัยในเมืองเล็กๆ ในขณะที่ผู้มีรายได้ต่ำกว่าให้เหตุผลว่า ปัจจัยด้านการเงิน เช่น การสูญเสียงาน ความต้องการหาถิ่นที่อยู่ใหม่ซึ่งมีค่าครองชีพต่ำกว่า ทำให้ต้องย้ายถิ่นออกจากเมืองใหญ่
รูป: คนกำลังรอเดินทางกลับบ้านเกิด
ที่มา: https://www.matichon.co.th/columnists/news_2323548 สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2564
แน่นอนว่าหากแนวโน้มนี้ดำเนินต่อไปก็จะมีผลระยะยาวต่อการพัฒนาเมืองด้านต่างๆ เช่น ระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อม ตลาดและมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย การอุปโภคและบริโภค ทั้งในเมืองใหญ่และเมืองเล็ก
การวิจัยการพัฒนาเมืองในอนาคตจำเป็นต้องครอบคลุมมิติใหม่ที่เชื่อมโยงกับผลกระทบของโรคระบาดใหญ่ในครั้งนี้ การวิจัยเมืองควรจะต้องทบทวนและปรับปรุงเรื่องการวางผังเมืองมาตรฐานการเคหะ ปฏิสัมพันธ์ของชุมชนและพื้นที่ทางสังคม ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนเมืองในลักษณะที่จะนำไปสู่การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน
ในช่วงปิดเมืองและการทำงานจากบ้าน เราพบว่าคุณภาพอากาศในเมืองดีขึ้นอย่างชัดเจน5 ซึ่งสิ่งนี้ได้เน้นย้ำ.ถึงผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม ขอเสนอว่าการวิจัยต้องเพิ่มแนวทางการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ประเด็นเรื่องคุณภาพอากาศ ระบบน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพของเมืองขนาดต่างๆ
ยิ่งไปกว่านั้นวิกฤตโควิด-19 ได้เผยให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและเศรษฐกิจในเมืองเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการอยู่อาศัยในชุมชนแออัด ซึ่งทำให้มาตรการ “เว้นระยะห่างทางสังคม” ใช้ไม่ได้ผล การวิจัยในอนาคตจำเป็นต้องให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นที่ยังไม่ได้รับการศึกษา แต่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชากรและธรรมาภิบาลในเมือง เพื่อลดความไม่เท่าเทียมที่คุกคามสุขภาพและชีวิตของประชากรเมือง อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
ชณุมา สัตยดิษฐ์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
พงษ์ศักดิ์ สกุลทักษิณ,ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
ภูเบศร์ สมุทรจักร
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
กาญจนา เทียนลาย
มนสิการ กาญจนะจิตรา
นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง
ดนุสรณ์ โพธารินทร์
รศรินทร์ เกรย์
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
ศุทธิดา ชวนวัน
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
ปราโมทย์ ประสาทกุล
วรชัย ทองไทย
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
กาญจนา ตั้งชลทิพย์
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
โยธิน แสวงดี,ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง
อมรา สุนทรธาดา
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์
ขวัญชนก ใจซื่อกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์
อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
กรกนก พงษ์ประดิษฐ์,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
โยธิน แสวงดี
มนสิการ กาญจนะจิตรา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
วรชัย ทองไทย
สุชาดา ทวีสิทธิ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
วรรณี หุตะแพทย์
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
วิภาพร จารุเรืองไพศาล
สุภาณี ปลื้มเจริญ
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
ปรียา พลอยระย้า
บุรเทพ โชคธนานุกูล
นงเยาว์ บุญเจริญ
รีนา ต๊ะดี