แนวโน้มเด็กเกิดน้อยเป็นปรากฏการณ์ทางประชากรที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชียตะวันออกที่ประสบกับปัญหานี้มานานนับหลายทศวรรษ และเมื่อเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้การลดลงของการเกิดชัดเจนยิ่งขึ้น
ปีที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก กลายเป็นปีที่หลายประเทศทั่วโลกประสบกับอัตราการเกิดที่ต่ำ.ที่สุดในประวัติศาสตร์ เช่น ในประเทศอิตาลีพบว่าอัตราการเกิดลดลง 22% ในเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นระยะเวลาครบ 9 เดือนภายหลังการเกิดการระบาดพอดี ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสเองก็ประสบกับอัตราการเกิดต่ำสุดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ในประเทศฝั่งเอเชียก็เช่นกัน ประเทศจีนพบว่าในปี 2563 อัตราการลงทะเบียนเกิดลดลงถึง 15% ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวันที่มีอัตราการเกิดต่ำเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอยู่แล้ว ต้องประสบกับปัญหาการเกิดที่ลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังการระบาดของโควิด-19 อัตราการเจริญพันธุ์ของประเทศไต้หวันในปีล่าสุดได้ตกลงมาต่ำกว่า 1 แล้ว นั่นหมายความว่า ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ของไต้หวันขณะนี้ มีลูกโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 1 คน
ที่มา: Bosley, C. & Jamrisko, M. (2021, March 14)1
อัตราการเกิดที่ลดลงในช่วงการระบาดของโควิด-19 นี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเป็นเพียงการชะลอการมีบุตร เพื่อรอให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปก่อน หรือเป็นการตัดสินใจที่จะลดการมีบุตรอย่างถาวร อย่างไรก็ตาม การระบาดในครั้งนี้ น่าจะส่งผลในระยะยาวไม่มากก็น้อย เพราะนอกจากคู่สมรสในปัจจุบันจะลดหรือชะลอการมีลูกแล้ว คนที่กำลังอยู่ในวัยเริ่มต้นครอบครัวยังมีโอกาสในการสร้างครอบครัวน้อยลง เช่น คนโสดอาจมีโอกาสพบปะคนใหม่ๆ และพัฒนาความสัมพันธ์ต่อไปในอนาคตยากขึ้นจากมาตรการล็อกดาวน์ การทำงานจากที่บ้าน และการต้องลดชีวิตทางสังคม ส่วนคนที่มีคู่แล้วก็อาจต้องเลื่อนการแต่งงานออกไป ซึ่งการแต่งงานช้าลง มักจะส่งผลต่อการตัดสินใจมีลูกในอนาคต ดังนั้น อัตราการเกิดที่ลดลงในวันนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการลดอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องต่อไปในอนาคต
การเกิดที่ลดลงจากโควิด-19 จะทำให้หลายประเทศก้าวสู่การเป็นสังคมสูงอายุเร็วขึ้น เพราะขนาดกำลังแรงงานจะลดลงอย่างรวดเร็วจากการเกิดที่น้อยลง ภายหลังการเกิดวิกฤติ หนทางสำคัญที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง จำเป็นต้องพึ่งกำลังแรงงานที่จะเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศต่อไป ดังนั้น การเกิดที่ลดลงนี้จะส่งผลอย่างยิ่งต่อประเทศ โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงในการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ ยิ่งวิกฤตินี้ยืดเยื้อยาวนานเท่าไร ค่าใช้จ่ายรัฐบาลจะยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ในขณะที่แนวโน้มการเกิดก็จะยิ่งลดลง
หลายประเทศมีมาตรการส่งเสริมการเกิดอยู่แล้วจากแนวโน้มการเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ภายหลังการเกิดโควิด-19 หลายประเทศได้เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการ เช่น ประเทศสิงคโปร์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องการมีมาตรการที่หลากหลายในการกระตุ้นให้คนสร้างครอบครัว ได้เพิ่มมาตรการเพื่อเพิ่มเงินสนับสนุนจำนวน 3,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 70,000 บาท) สำหรับเด็กเกิดใหม่จนถึงเดือนกันยายน 2565 โดยหวังว่าแรงจูงใจนี้จะช่วยกระตุ้นให้ครอบครัวตัดสินใจมีลูกโดยไม่ต้องรีรอ นอกจากนั้น ยังมีการผ่อนปรนมาตรการเว้นระยะห่างสำหรับคู่รักที่ต้องการจัดงานแต่งงานในช่วงนี้ โดยอนุญาตให้จัดงานขนาดเล็กไม่เกิน 100 คนได้
สำหรับประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเหลือประชากรไม่ถึง 35 ล้านคนภายในอีก 80 ปีข้างหน้า2 ซึ่งภายหลังการเกิดวิกฤติโควิด-19 นี้ เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าตัวเลขอาจลดลงยิ่งกว่านั้น ดังนั้น การมาเยือนของโควิด-19 น่าจะเป็นสัญญาณเตือนให้ประเทศไทยเอาจริงเอาจังกับปัญหาทางประชากรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และเริ่มดำเนินการมาตรการเพื่อส่งเสริมการสร้างครอบครัวของคนรุ่นใหม่ รวมถึงการศึกษาแนวทางด้านประชากรอื่นๆ เช่น การพิจารณาการนำเข้าพลเมืองอย่างจริงจัง
อ้างอิง
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สุดปรารถนา ดวงแก้ว
วาทินี บุญชะลักษี
ภูเบศร์ สมุทรจักร
วิภาพร จารุเรืองไพศาล
นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง
วรชัย ทองไทย
วรเทพ พูลสวัสดิ์
จรัมพร โห้ลำยอง
ธีระพจน์ คำรณฤทธิศร
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สุรีย์พร พันพึ่ง
วรชัย ทองไทย
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
เพ็ญพิมล คงมนต์
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
จงจิตต์ ฤทธิรงค์,พรสุรีย์ จิวนานนท์
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
กาญจนา เทียนลาย
สิรินทร์ยา พูลเกิด
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ณัฐณิชา ลอยฟ้า
มนสิการ กาญจนะจิตรา
กาญจนา เทียนลาย
กาญจนา เทียนลาย
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
กาญจนา เทียนลาย
ณัฐณิชา ลอยฟ้า
ปราโมทย์ ประสาทกุล