เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ฉันได้เดินทางมายังเมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย เพื่อศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยที่นี่
ฉันต้องไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) ก่อนเดินทางเพื่อใช้ยืนยันกับสายการบิน และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองก่อนเข้าประเทศออสเตรีย ผลตรวจจะต้องมีอายุไม่เกิน 72 ชั่วโมง ฉันรู้สึกโล่งใจที่ผลออกมาเป็นลบ (ไม่พบเชื้อโควิด-19) ฉันจึงได้เดินทางตามกำหนด โดยก่อนเดินทางจะต้องลงทะเบียนยืนยันการเดินทางเข้าประเทศออสเตรียผ่านทางเว็บไซต์ก่อน
ฉันต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา สายการบินได้จัดเตรียมอุปกรณ์จำเป็นให้ ได้แก่ หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ และถุงมือยาง เที่ยวบินที่ฉันเดินทางมามีผู้โดยสารประมาณ 70 คนเท่านั้น การจัดที่นั่งของผู้โดยสารจึงเว้นระยะห่างได้ และถอดหน้ากากได้เฉพาะเวลารับประทานอาหารเท่านั้น
ฉันได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ให้เดินทางตรงไปยังที่พักทันทีเพื่อทำการกักตัวเป็นเวลา 10 วัน โดยวันที่เดินทางมาถึงนับเป็นวันที่ 0 และให้เริ่มนับวันที่ 1 ในวันถัดไป เมื่อถึงวันที่ 5 ฉันต้องไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 หากไม่พบเชื้อ ฉันสามารถหยุดกักตัวได้ทันที เจ้าหน้าที่แนะนำให้ฉันไปซื้ออาหารจากร้านค้าในสนามบินให้เพียงพอสำหรับ 10 วัน และให้เดินทางตรงไปที่พักทันที
อย่างไรก็ตาม ฉันต้องเดินทางไปรับกุญแจจากสำนักงานของหอพักก่อน ซึ่งฉันได้ทำการติดต่อไปแล้วล่วงหน้าและได้รับอนุญาตให้เข้าไปรับกุญแจได้ เจ้าหน้าที่ที่สำนักงานให้คำแนะนำเพิ่มเติมเรื่องการนัดตรวจโควิด-19 จากนั้นฉันจึงเดินทางไปที่หอพักเพื่อทำการกักตัว และทำการนัดหมายไปตรวจโควิด-19 ผ่านทางเว็บไซต์ต่อไป
ฉันตรงไปที่จุดตรวจโควิด-19 ยื่นหนังสือเดินทางให้เจ้าหน้าที่และแจ้งว่าต้องการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เนื่องจากกักตัวครบ 5 วัน และได้นัดหมายมาแล้วล่วงหน้า เจ้าหน้าที่ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ให้ฉัน เป็นการตรวจแบบ Rapid Antigen Test โดยการนำของเหลวในจมูกไปตรวจ และทราบผลภายใน 15 นาที ผลออกมาว่าไม่พบเชื้อ เจ้าหน้าที่พิมพ์ผลการตรวจให้ฉันด้วย โดยฉันไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดฉันได้รับการยืนยันว่าสามารถยุติการกักตัวและออกมาใช้ชีวิตประจำวันได้
ปัจจุบันออสเตรียมีประชากรประมาณ 9 ล้านคน1 มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสม 631,896 ราย เสียชีวิต 10,392 รายและรักษาหายแล้ว 605,441 ราย จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งสูงขึ้นวันละมากกว่า 3,000 ราย ในช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเขตออสเตรียตอนล่าง (Lower Austria) และเมืองเวียนนา ทำให้รัฐบาลประกาศปิดเมืองตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่ในที่พักและไม่พบปะสังสรรค์กัน และมีเพียงร้านค้าที่จำเป็นเท่านั้นที่เปิดให้บริการ (เช่น ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านขายอาหารแบบห่อกลับบ้านร้านขายยา) และต้องใส่หน้ากากเมื่อเข้าไปในร้านค้าเหล่านี้รวมถึงในอาคารและรถโดยสารสาธารณะ โดยการออกมาเดินเล่นที่สวนสาธารณะสามารถทำได้ในช่วงปิดเมือง และไม่ได้บังคับให้ใส่หน้ากากหากอยู่นอกอาคารหรือสวนสาธารณะ มาตรการนี้ได้ถูกผ่อนคลายเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา และในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้จะอนุญาตให้โรงแรมและร้านอาหารเปิดกิจการสามารถเข้าไปนั่งรับประทานที่ร้านได้ เปิดโรงภาพยนตร์ ฟิตเนส สระว่ายน้ำ และสวนสนุก รวมถึงกฎการเดินทางจากผู้ที่มาจากประเทศใน EU ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง2 เนื่องจากล่าสุดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงเหลือเฉลี่ยวันละประมาณ 1,300 รายเท่านั้น (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2564)3 และมีแนวโน้มว่าจะลดลงอีก นอกจากนี้ยังมีการฉีดวัคซีนแล้วกว่า 361 ล้านโดส ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้วมีจำนวนกว่า 966,000 คน คิดเป็นร้อยละ 10.9 ของประชากรทั้งประเทศ4
หากเทียบอัตราการติดเชื้อในออสเตรียและในประเทศไทยในปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ของออสเตรียนั้นถือว่าแย่กว่ามาก แต่การเข้าถึงการตรวจหาเชื้อได้ง่ายและการเร่งฉีดวัคซีนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้รัฐบาลมีความมั่นใจว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้และผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มในที่สุด
พระราชวัง Schonbrunn ซึ่งไร้ผู้คนในช่วงปิดเมืองที่ผ่านมา
ภาพโดย: รีนา ต๊ะดี
อ้างอิง
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
วรเทพ พูลสวัสดิ์
วาทินี บุญชะลักษี
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
กาญจนา เทียนลาย
นันท์สินี ศิริโกสุม,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
ดวงวิไล ไทยแท้
ธีระพจน์ คำรณฤทธิศร
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ดนุสรณ์ โพธารินทร์
สุรีย์พร พันพึ่ง
วรชัย ทองไทย
เพ็ญพิมล คงมนต์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
ศุทธิดา ชวนวัน
สิรินทร์ยา พูลเกิด
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
สาสินี เทพสุวรรณ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด
ปราโมทย์ ประสาทกุล
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ณัฐพร โตภะ
สุภรต์ จรัสสิทธิ์