สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เปลี่ยนวิถีชีวิตและวิธีการเรียนของเด็กและเยาวชนวัยเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับอุดมศึกษาอย่างพลิกฝ่ามือ จากเดิมที่เด็กเคยได้ออกไปใช้ชีวิตในโรงเรียนกลับต้องเรียนที่บ้าน จากที่เคยได้ออกไปเล่น เรียนรู้พบปะกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียน กลับถูกจำกัดพื้นที่การใช้ชีวิตให้อยู่เพียงในบ้านและละแวกบ้าน
ปัจจุบันเด็กและเยาวชนทั่วโลกไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากการไม่ได้ไปโรงเรียน ข้อมูลจากวารสาร The Lancet Child and Adolescent Health1 พบว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โรงเรียนใน 188 ประเทศทั่วโลกต้องหยุดการเรียนการสอน มากกว่า 90% ของเด็กและเยาวชนไม่ได้ไปโรงเรียน และกำลังสูญเสียช่วงเวลาการเรียนรู้ไปประมาณ 1 ปีครึ่ง2 ที่น่าห่วงมากกว่านั้นคือ เมื่อเด็กๆ ไม่ได้ไปพบและวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียน ระดับความเครียดของเด็กจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มเพื่อนและการพบปะกันของเด็กๆ เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยส่งเสริมและจัดการในด้านสุขภาพจิต3
ด้วยเหตุนี้ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดให้มีพื้นที่สำหรับการพูดคุยเพื่อรับฟังเสียงสะท้อนจากเด็กนักเรียนผ่านช่องทาง Clubhouse ทำให้ได้รับทราบถึงเรื่องที่น่ากังวลเกี่ยวกับการปรับตัวของเด็กวัยเรียนหลายประการวิถีการใช้ชีวิตของเด็กที่เปลี่ยนไปจากเดิมเริ่มตั้งแต่เวลาตื่นนอน ไปจนถึงเวลาเข้านอนที่ผิดเพี้ยนไป
รูป 1: เด็กชายปัณณ์อยากไปโรงเรียน
ถ่ายภาพโดย: เกียรตินิยม ขันตี (บิดา) ภาพถ่ายนี้ได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่ได้แล้ว
ข้อมูลจากนักเรียนทั่วประเทศผ่านการสำรวจออนไลน์ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 จำนวน 243 คน พบผลกระทบทางด้านสุขภาพของเด็กวัยเรียนที่สำคัญๆ เช่น อาการปวดเมื่อย ปวดตา ปัญหาสุขภาพจิต ความเครียด ความวิตกกังวลที่เกิดจากการไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตตามปกติ การไม่ได้วิ่งเล่น ไม่ได้พบปะกับเพื่อนๆ เช่นเคย ดังรายละเอียดในรูป 2
รูป 2: ปัญหาทางสุขภาพของเด็กในช่วงเรียนอยู่ที่บ้าน
แหล่งข้อมูล: ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย
นอกเหนือจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นแล้ว วิถีชีวิตของเด็กๆ ได้บิดเบี้ยวผิดเพี้ยนไปตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน สิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งคือ วิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพฤติกรรมเนือยนิ่ง การขาดกิจกรรมทางกาย รวมถึงเรื่องสุขภาพจิต ประเด็นต่างๆ เหล่านี้หากปล่อยให้บานปลายเนิ่นนานอาจส่งผลต่อปัญหาทางสุขภาพของเด็กและเยาวชนในระยะยาว
เสียงสะท้อนดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อหาทางออกอย่างเร่งด่วนให้กับเด็กและเยาวชน นอกจากเรื่องของรูปแบบการเรียนออนไลน์ที่ต้องปรับเปลี่ยนและแก้ไขให้เหมาะสมกับผู้เรียนแล้ว ในด้านสุขภาพ วิถีการใช้ชีวิตของเด็กก็เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขเช่นกัน จะเรียนออนไลน์อย่างไรให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจแก่ผู้เรียนน้อยที่สุด และจะทำอย่างไรให้วิถีชีวิตของนักเรียน นักศึกษา กลับคืนสู่วิถีชีวิตที่เป็นปกติ ซึ่งถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายที่ต้องแก้ไขต่อไป
อ้างอิง
สิรินทร์ยา พูลเกิด
มนสิการ กาญจนะจิตรา
วิภาพร จารุเรืองไพศาล
ณปภัช สัจนวกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
เพ็ญพิมล คงมนต์
สาสินี เทพสุวรรณ์
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
จรัมพร โห้ลำยอง,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สุรีย์พร พันพึ่ง
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
จงจิตต์ ฤทธิรงค์,พรสุรีย์ จิวนานนท์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
วรชัย ทองไทย
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
ดนุสรณ์ โพธารินทร์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
กาญจนา ตั้งชลทิพย์,อารี จำปากลาย
ชณุมา สัตยดิษฐ์
ฐิติกร โตโพธิ์ไทย
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
นงเยาว์ บุญเจริญ
สุริยาพร จันทร์เจริญ
อมรา สุนทรธาดา
กาญจนา เทียนลาย
มนสิการ กาญจนะจิตรา
สุชาดา ทวีสิทธิ์
ปรียา พลอยระย้า
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
สุภาณี ปลื้มเจริญ
อมรา สุนทรธาดา
อารี จำปากลาย
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
กาญจนา ตั้งชลทิพย์,ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์,อารี จำปากลาย
มนสิการ กาญจนะจิตรา
วีรภาคย์ ซำศิริพงษ์
ศุทธิดา ชวนวัน