The Prachakorn

การเบรกนั่งนานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ช่วยลดความเสี่ยงโรค NCDs และ MSDs


ชุติมา ชลายนเดชะ

08 กรกฎาคม 2563
638



ขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์โรคระบาดจากเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตแบบเดิม ตามสโลแกน “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เราไม่สามารถติดต่อสื่อสารหรือเดินทางได้ในวิถีชีวิตแบบเดิม ดังนั้นเราสร้างวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ผ่านการใช้สื่อออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ เช่น จอทีวี คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโพน หรือแท็บเล็ต เพื่อการทำงาน การเรียนหนังสือ หรือความสนุกสนานเพลิดเพลิน การนั่งนานส่งผลต่อความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรค NCDs และการบาดเจ็บทางกระดูกและกล้ามเนื้อ (MSDs) นั่งนานส่งผลต่อการสะสมของไขมันและน้ำตาลในเลือด และเพิ่มแรงกดกระทำต่อกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลัง ปัจจัยเหล่านี้เป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและอาการปวดกระดูกกล้ามเนื้อที่คอและหลัง การเบรกพฤติกรรมนั่งนานเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย และไม่ต้องการอุปกรณ์ สถานที่หรือเวลามากนัก แต่ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายอย่างที่คาดหวังไว้หรือไม่ และกลยุทธ์นี้จะเป็นแนวทางป้องกันความเสี่ยงของโรค NCDs และ MSDs ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อวิถีชีวิตใหม่ใช่วงสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดที่ทั่วโลกที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่อย่างไร ขอเชิญเข้าร่วมฟังการเสวนา

Facebook Link: https://www.facebook.com/255818394487885/videos/439104040306342

 



CONTRIBUTOR

Related Posts
COVID-19 โรคเปลี่ยนโลก

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา

อาชีพกับเรื่องอ้วนๆ

จงจิตต์ ฤทธิรงค์

คนไทยกับกิจกรรมทางกาย

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์

อนาคตเด็กไทยหน้าติดจอ

นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง

การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ

กรกนก พงษ์ประดิษฐ์,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th