วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นอีกครั้งที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีมาตรการปิดเมือง (lockdown) เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเหมือนเช่นเคย มาตรการสำคัญในการล็อกดาวน์ครั้งนี้ คือให้ราชการและเอกชน Work From Home (WFH) ให้มากที่สุด
การ WFH จริงๆ แล้วเป็นแนวทางที่เริ่มได้รับความสนใจมาตั้งแต่ก่อนการมีโรคระบาดโควิด-19 เสียอีก เพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ทำให้การทำงานหลายประเภทสามารถทำได้จากทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเข้ามาในสำนักงาน การ WFH หากบริหารจัดการได้ดี เป็นแนวทางที่อาจเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ด้วย ซึ่งมีการศึกษาหลายชิ้นที่สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นของพนักงานจากการทำงานจากที่บ้าน เช่น การศึกษาในประเทศจีนที่พบว่าประสิทธิภาพของการทำงานเพิ่มขึ้น 13% จากการให้พนักงาน WFH เป็นระยะเวลานาน 9 เดือน1
อย่างไรก็ตาม การ WFH เป็นระยะเวลานานภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียดเช่นนี้ กำลังนำไปสู่อีกปรากฏการณ์หนึ่ง คือ ความรู้สึกหมดพลังในการทำงาน
ความเครียดเรื้อรังจากการทำงานที่ยังไม่สามารถจัดการได้ อาจนำไปสู่ภาวะหมดไฟจากการทำงาน (burn-out) ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะในปี 2562 องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ภาวะหมดไฟจากการทำงานอยู่ในแนวทางการวินิจฉัยโรคฉบับที่ 11 (International Classification of Diseases) จากเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต2 หากภาวะหมดไฟจากการทำงานไม่ได้รับการจัดการ อาจส่งผลเสียในด้านต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย เช่น เกิดความเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย และปวดศีรษะ ผลด้านจิตใจ เช่น หมดความสนุกในการทำงาน รู้สึกไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน หมดหวัง และอาจมีอาการของภาวะซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับ และผลต่อการทำงาน เช่น อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และอาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด
การ WFH มาเป็นระยะเวลาเกือบปี ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อไร ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมเป็นเวลายาวนานได้ และอาจเริ่มนำไปสู่อาการหมดไฟจากการทำงานโดยที่เราไม่รู้ตัว โดยเฉพาะเมื่อการทำงานที่บ้าน ทำให้หลายคนไม่สามารถแยกเวลางานและเวลาส่วนตัวได้ ทำให้มีเวลาในการหยุดพักไม่เพียงพอ
จากการศึกษาข้อแนะนำต่างๆ ในการจัดการการ WFH ไม่ให้นำไปสู่ความเครียดเรื้อรัง พบว่า หัวใจสำคัญคือการแยกชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้ได้ เพราะการ WFH ทำให้หลายคนไม่สามารถแยกแยะเวลางานจากเวลาพักผ่อน ทำให้เกิดความไม่สมดุลในชีวิต ดังนั้น ข้อแนะนำสำคัญในการ WFH คือการแยกพื้นที่การทำงานออกให้เป็นสัดส่วน ถึงแม้จะไม่สามารถมีห้องทำงานแยกออกมาได้ แต่แค่มีเก้าอี้สำหรับการนั่งทำงานโดยเฉพาะ ก็สามารถช่วยในด้านความรู้สึกได้ในระดับหนึ่งแล้ว
การจัดตารางเวลาการทำงานให้ชัดเจน เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการจัดการชีวิตการทำงานให้แยกจากชีวิตส่วนตัว เพราะเป็นการสร้างเส้นแบ่งระหว่างเวลาทำงาน เวลาในการพักผ่อนและดูแลครอบครัว ซึ่งตารางเวลานี้อาจปรับเปลี่ยนไปได้ตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องเป็นตารางที่ตายตัว เช่น หากสัปดาห์นี้ต้องช่วยลูกในการเรียนออนไลน์ช่วงเช้า ก็อาจลองปรับเวลาทำงานเป็นช่วงบ่ายและช่วงเย็นแทน ซึ่งตรงนี้ที่ทำงานต้องให้ความยืดหยุ่นแก่พนักงานในการจัดการเวลาของตนเอง
ในการ WFH สิ่งหนึ่งที่หายไป คือ ช่วงเวลาในการเดินทาง ซึ่งถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่งในการ WFH เพราะการได้ทำงานที่บ้านทำให้ประหยัดเวลาในการเดินทางในแต่ละวันไปได้มาก แต่ช่วงเวลาในการเดินทางก็มีประโยชน์อย่างหนึ่งที่คนมักไม่ได้นึกถึง คือเป็นช่วงเวลาในการปรับอารมณ์ให้เข้าสู่โหมดของการทำงาน และมีหน้าที่สำคัญในการแบ่งเส้นระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตในการทำงาน ดังนั้น หากจะให้ดี จึงแนะนำให้เริ่มวันด้วยการออกไปเดินเล่นซัก 10-15 นาทีเพื่อปรับสภาพอารมณ์ให้พร้อมก่อนจะเริ่มการทำงาน และเมื่อหมดเวลาทำงาน ก็ควรหาเวลาในการเดินเพื่อผ่อนคลาย และปรับอารมณ์ในการเข้าสู่โหมดการพักผ่อน
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าคุณจะ WFH หรือไม่ ต้องไม่ลืมการดูแลสุขภาพกายและใจของตนเองให้ดี หาเวลาในการทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบบ้าง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การฝึกสมาธิ การใช้เวลากับคนในครอบครัว และการพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเราจะได้ผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
ที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256303_BOTGettoKnow.aspx สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2564
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
นนทวัชร์ แสงลออ
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
อมรา สุนทรธาดา
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
ณัฐณิชา ลอยฟ้า
สิรินทร์ยา พูลเกิด
กุลวีณ์ ศิริรัตน์มงคล
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
กัญญา อภิพรชัยสกุล
อมรา สุนทรธาดา
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น
ณัฐพร โตภะ
นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง
วรรณี หุตะแพทย์
ภัสสร มิ่งไธสง
ปรียา พลอยระย้า
กาญจนา เทียนลาย
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ศุทธิดา ชวนวัน
ดนุสรณ์ โพธารินทร์
สุชาดา ทวีสิทธิ์
สาสินี เทพสุวรรณ์
นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา
จรัมพร โห้ลำยอง,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
วริศรา ไข่ลือนาม
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
สุริยาพร จันทร์เจริญ
ธีระพจน์ คำรณฤทธิศร