The Prachakorn

โลกกับโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา


กาญจนา เทียนลาย

03 มีนาคม 2565
389



นับเป็นเวลา 2 ปีกว่าแล้วที่ประชากรโลกอยู่ร่วมกับโรคระบาดอุบัติใหม่ที่ชื่อว่า “โควิด-19” ที่เริ่มระบาดจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน อีกทั้งยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดการระบาดได้ในเร็ววัน เจ้าไวรัสโคโรนา 2019 ได้พัฒนาและกลายพันธุ์ มีการเรียกชื่อตามประเทศที่พบ เช่น สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์อินเดีย และต่อมาองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ชื่อสายพันธุ์เป็นตัวอักษรกรีกเพื่อลดการตีตรา เช่น แอลฟา เบตา แกมมา เดลตา โอไมครอน 

กว่า 2 ปีที่ผ่านมา การระบาดของ “โควิด-19” ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับประชากรโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ (ที่ตอนนี้มีผู้ติดเชื้อแล้ว 307.9 ล้านคน เสียชีวิต 5.5 ล้านคนจากทั่วโลก จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในทุกๆ วัน) ระบบสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรการปิดเมือง ปิดประเทศ ห้ามการเดินทาง ผู้คนไม่สามารถออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีการตกงานขนานใหญ่ เด็กๆ ไม่สามารถออกไปเรียนได้ งานประเพณีถูกงด ผู้ย้ายถิ่นไม่ได้กลับไปหาครอบครัว เกิดการทำงานแบบ WFH สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดและวิตกกังวล สิ่งที่ทำได้ก็คือ การป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัดด้วยการรักษาระยะห่าง การฉีดวัคซีน และปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับสถานการณ์ หวังว่าสถานการณ์การระบาดจะยุติลงในเร็ววัน เพื่อให้ผู้คนได้กลับไปใช้ชีวิตปกติใหม่ได้ในเร็ววัน



CONTRIBUTOR

Related Posts
ด้วยรักและโรคระบาด

ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ

โควิด-19 กับ มูลค่าชีวิตคน

เฉลิมพล แจ่มจันทร์

Work From Home (WFH)

ดนุสรณ์ โพธารินทร์

วิถีใหม่

วรชัย ทองไทย

โกหกคำโต (big lie)

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th