เกือบตลอดช่วงเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ UN General Assembly ครั้งที่ 78 (UNGA78) ที่ 193 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับทิศทางและนโยบายของการพัฒนาของประเทศต่างๆ ในการประชุมดังกล่าวได้ออกแบบให้มีการประชุมคู่ขนานที่สำคัญอีกหลายเวที หนึ่งในเวทีที่ได้รับความสนใจคือ เวทีประชุมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Summit) มีการหยิบยก 5 ประเด็นที่น่าจับตามองและให้ความสำคัญประกอบด้วย 1) ความเคลื่อนไหวนานาประเทศหลังผ่านครึ่งแรกของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) การจัดการและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การทบทวนบทเรียนจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 4) การเปิดแผนจัดเวทีแห่งอนาคต หรือ Summit of the Future และ 5) การยกระดับประเด็นด้านความเท่าเทียม
การประชุมได้เปิดเผยข้อมูลที่มีใจความสำคัญโดยสรุป คือ ภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่มีความผันผวนและสลับซับซ้อน ผนวกกับภัยพิบัติธรรมชาติ ความขัดแย้ง และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ความคืบหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีแนวโน้มที่จะถดถอยลง ทั้งนี้พบว่า ประเทศสมาชิกทั่วโลกที่สามารถดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายได้เพียงร้อยละ 12 เท่านั้น ดังนั้นแต่ละประเทศจำเป็นต้องเร่งคิด หารือ และวางแผน เพื่อให้ช่วงเวลา 7 ปีข้างหน้าที่เหลือก่อนจะถึงเป้าหมายในปี 2573 ทุกประเทศสามารถผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ประสบความสำเร็จร่วมกันได้
จาก 5 ประเด็นหลักของการประชุม มีอยู่ 3 ประเด็นที่เป็นอุปสรรคและเงื่อนไขที่ฉุดรั้งการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่างๆ ซึ่งบทความนี้อุปลักษณ์ (Metaphor) ให้เป็น “ยักษ์ 3 ตัว” ที่กลืนกินกระบวนการพัฒนาที่ควรจะเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก (ยกเว้นประเด็นที่ 1 และ 3) โดยจะขอจับเอา “ยักษ์ตัวที่ 3” ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านความเท่าเทียมในมิติต่างๆ ของสังคม มาเสนอและชวนทุกท่านได้ร่วมคิดร่วมอภิปรายกัน
ในการประชุม UNGA 78 ครั้งนี้ ประเด็นด้านความเท่าเทียม นับเป็นประเด็นที่ถือเป็นศูนย์กลางของทุกประเด็น โดยจุดเน้นในการพูดคุยของเรื่องนี้อยู่ที่การชวนให้แต่ละประเทศได้คิดและวางแผนกลไกทางการเงิน ที่จะใช้ผลักดันโครงการเพื่อสร้างความเท่าเทียมต่างๆ เพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อาทิ การให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มคนชายขอบ การจัดการกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ท้าชนความรุนแรงที่ผู้หญิงต้องเผชิญ ปิดช่องว่างระหว่างวัย การปราศจากการเลือกปฏิบัติ และประเด็นอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมไปถึงเรื่องการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Healthcare Coverage - UHC) และการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์โรคระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
หากจะว่าไปแล้ว ยักษ์ตัวที่ 3 นี้ เป็นยักษ์ที่ฆ่าไม่ตายและอยู่ในสังคมของมนุษย์เรามาช้านาน สร้างความเหลื่อมล้ำ กีดกันโอกาส และกดทับความเจริญก้าวหน้าของคนหลายกลุ่มในสังคม เป็นยักษ์ที่หลายประเทศต่างต้องการที่จะหาอาวุธหนักมาใช้ปราบให้กำราบ แต่ยังหาไม่เจอหรือทำไม่ได้ ส่งผลให้เหล่ายักษ์กลุ่มนี้ได้ใจหัวเราะเยาะเย้ย พร้อมกับแพร่ขยายสายพันธุ์ใหม่ไปในหลายสังคมที่ขาดภูมิคุ้มกันในการรับมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ผู้เขียนขอใช้โอกาสนี้แนะนำทุกท่านให้รู้จักอีกหนึ่งสายพันธุ์ใหม่ของยักษ์ตัวที่ 3 ที่มีฤทธิ์ในการสร้างความเหลื่อมล้ำด้านกิจกรรมทางกาย และกำลังถูกพูดถึงในหลายสังคมมากขึ้นทุกขณะ
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม โดยโครงการติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ระหว่างปี 2562 ถึง 2564 ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลต่อเนื่องระยะยาวกับกลุ่มตัวอย่างจำนวนประมาณ 8,000 คนในประเด็นสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของการมีกิจกรรมทางกายในช่วงก่อน-ระหว่าง-และหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 17 ปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงของความเหลื่อมล้ำในมิตินี้ ที่อาศัยจังหวะของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทวีความรุนแรงของปัญหาไปยังผู้คนกลุ่มต่างๆ ในสังคม เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลในรายละเอียดพบกลุ่มประชากรที่กำลังเผชิญความเหลื่อมล้ำอยู่ในสถานการณ์ขาดกิจกรรมทางกายมากที่สุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ไม่มีรายได้และไม่มีงานทำ 2) กลุ่มผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่สุขภาวะ และ 3) กลุ่มประชากรผู้สูงอายุ ตามลำดับ
ดังนั้น กลไกทางการเงินที่จะนำมาใช้เพื่อการผลักดันโครงการเพื่อสร้างความเท่าเทียมด้านกิจกรรมทางกายได้อย่างมีประสิทธิผลแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดกับกลุ่มประชากรที่ตรงกับปัญหา นับเป็นสิ่งสำคัญที่ภาครัฐจำเป็นต้องเร่งมองเห็น เข้าใจ และผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อจัดการกำราบยักษ์ตัวที่ 3 ไม่ให้สามารถหัวเราะคำรามเสียงกึกก้องในสังคมไทยได้ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
Widyastari, D. A., Khanawapee, A., Charoenrom, W., Saonuam, P., & Katewongsa, P. (2022). Refining index to measure physical activity inequality: which group of the population is the most vulnerable? International Journal for Equity in Health, 21(1), 123. doi:10.1186/s12939-022-01725-1
ดาวน์โหลดบทความฉบับเต็ม
ภาพปก freepik.com (premium license)
วรชัย ทองไทย
ธีรนันท์ ธีรเสนี
อมรา สุนทรธาดา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
วรรณี หุตะแพทย์,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
ปาริฉัตร นาครักษา,สิรินทร์ยา พูลเกิด
นนทวัชร์ แสงลออ
สุพัตรา ฌานประภัสร์
นันท์สินี ศิริโกสุม,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
กาญจนา เทียนลาย
รศรินทร์ เกรย์
สาสินี เทพสุวรรณ์
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
จรัมพร โห้ลำยอง
สลาลี สมบัติมี
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
สุริยาพร จันทร์เจริญ
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
วรชัย ทองไทย
มนสิการ กาญจนะจิตรา
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
วรชัย ทองไทย
เพ็ญพิมล คงมนต์
อมรา สุนทรธาดา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
นงเยาว์ บุญเจริญ
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
มนสิการ กาญจนะจิตรา
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
มนสิการ กาญจนะจิตรา
อารี จำปากลาย
นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ฐิติกร โตโพธิ์ไทย
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์