การรณรงค์ส่งเสริม “ความเสมอภาคทางเพศ” ให้มีความเสมอภาคของคุณภาพชีวิตและความสุข ส่งผลให้พื้นที่ของ “เพศหลากหลาย” กว้างขวางครอบคลุมพื้นที่ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากยิ่งขึ้น อาทิ การประกาศเป็นวาระแห่งชาติว่าด้วย “สิทธิมนุษยชนร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” มหาวิทยาลัยหลายแห่งประกาศให้สิทธินักศึกษาสามารถแต่งกายตามอัตลักษณ์ทางเพศหรือเพศวิถีได้
ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (the Sustainable Development Goals: SDG) เป้าหมายที่ 3 (Good Health and Well-being) และ 4 (Quality Education) มุ่งเน้นสร้างเสริมให้คนทุกเพศวัยในประเทศมีสุขภาพดี อยู่ดี กินดี มีความสุข เคารพสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ รวมถึง ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งได้รับการขานตอบจากภาคเอกชนหลากหลายสาขาร่วมกันลงนามในข้อตกลง SDG กับองค์การสหประชาชาติ สนับสนุนและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียม การมีส่วนร่วม การให้เกียรติ และการไม่เลือกปฏิบัติ สำหรับกลุ่ม “เพศหลากหลาย”
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการสำรวจรายปี คุณภาพชีวิตและความสุขคนทำงาน ด้วยเครื่องมือ HAPPINOMETER แบบสำรวจตนเองทั้งระบบ paper-based และ online-based ผลสำรวจ “องค์กรแห่งความสุข” ปี 2563 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25,955 ราย ซึ่งกำลังทำงานอยู่ใน 436 องค์กรทั่วประเทศ มีผู้ระบุว่าเป็น “เพศหลากหลาย” จำนวน 212 คน คิดเป็นสัดส่วน 0.8% เป็นคน Gen Y (อายุ 18–33 ปี) มากที่สุด จำนวน 145 คน ขณะที่ การสำรวจ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” ปี 2562 ด้วย HAPPINOMETER ชุดเดียวกัน จากบุคลากรที่กำลังปฏิบัติงาน จำนวน 30,240 ราย ใน 25 มหาวิทยาลัย มีผู้ระบุว่าเป็นเพศหลากหลาย จำนวน 210 คน คิดเป็นสัดส่วน ประมาณ 0.7% เป็นคนทำงาน Gen Y (อายุ 18–33 ปี) มากที่สุด จำนวน 102 คน
ร้อยละเพศหลากหลายจำแนกตามเจเนอเรชันและประเภทองค์กรแห่งความสุข
Generation | Happy Workplace 2563 | Happy University 2562 | ||
จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | |
Gen Y (18-33) | 145 | 68.4 | 102 | 48.6 |
Gen X (24-53) | 53 | 25.0 | 97 | 46.2 |
Gen BB (54+) | 1 | 0.5 | 6 | 2.9 |
ไม่ระบุ | 13 | 6.1 | 5 | 2.4 |
รวม | 212 | 100 | 210 | 100 |
สิ่งที่น่าจับตาคือจำนวน “เพศหลากหลาย” เริ่มเห็นชัดขึ้นในแต่ละสังคม มีบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินที่ให้บริการกับกลุ่มเพศหลากหลาย(LGBT Capital) รายงานข้อมูลปี 2563 พบ จำนวนที่เปิดเผยของกลุ่มเพศหลากหลาย ประมาณ 483 ล้านคน จากประชากรโลก 7.4 พันล้านคน ในจำนวนนี้ 288 ล้านคนอยู่ในภูมิภาคเอเชีย โดยเป็นคนในประเทศจีนประมาณ 85 ล้านคน อินเดีย 80 ล้านคน ญี่ปุ่น 8 ล้านคนและ ไทย 4 ล้านคน (หรือประมาณ 0.83%)
ที่น่าสังเกต การนำเสนอสถานการณ์ การเปลี่ยนผ่าน วิวัฒนาการ “เพศหลากหลาย” บนความเสมอภาคทางเพศ ที่นอกจากมุ่งเน้นประเด็น คุณภาพชีวิตและความสุขที่ยั่งยืนตามแนวคิดของ Happy SDG ที่ “เพศหลากหลาย” เป็นส่วนหนึ่งของคนทุกเพศทุกวัยในพื้นที่สังคมและวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม การรับรู้ วิธีคิด และกฎหมาย ที่ส่งต่อไปยัง วิถีปฏิบัติต่อกลุ่ม “เพศหลากหลาย” ยังพบว่าเป็น “ภาพจำ” “ประสบการณ์” และ “ชุดคิด” ที่สอดแทรกไปกับวิถีการเปลี่ยนผ่านบนพื้นที่นั้นๆ ร่วมกันอย่างท้าทาย
ความเข้าใจ การสัมผัสจากประสบการณ์เดิมหรือจากบริบทที่ล้อมรอบของคนในสังคมและวัฒนธรรม โดยทั่วไป มักประทับ “ภาพจำ” ว่า “เพศ” ในสังคมไทย มีเพียง “เพศชาย” และ “เพศหญิง” การรับรู้และเรียนรู้เช่นนี้ เสมือนด้อยค่า “ความเสมอภาคทางเพศ” ส่งผลถึงวิธีคิดต่อ “เพศหลากหลาย” ให้ยากที่จะมีที่ยืน
แม้ว่า กฎหมายในปัจจุบันที่รัฐบัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรทำให้ ที่ยืนของ “เพศหลากหลาย” มีแนวโน้มได้รับการตอบรับที่ดี แต่วิถีปฏิบัติ ที่ยังคงบรรทัดฐานกำหนดให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวด มีการควบคุมที่รุนแรงเพื่อป้องกันการฝ่าฝืน หากคนในสังคมปฏิบัติตามจะถูกนับว่า เป็นสิ่งดีงาม หากฝ่าฝืนหรือละเมิดจะนับเป็น “คนผิด” “คนไม่ดี”
ที่ยืนของ “เพศหลากหลาย” นี้ จึงเป็นพื้นที่ที่ต้องเล่นกับ การรับรู้ วิธีคิด และ ความรู้สึกของจารีต ศีลธรรม ประเพณี ที่มีรากเหง้ามาจากมโนสำนึกว่า
ความละเอียดอ่อนซับซ้อนและลึกซึ้งของบรรทัดฐานทางสังคมดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการดำเนินวิถีปฏิบัติต่อ “เพศหลากหลาย” กับ “ภาพจำ” ที่เปลี่ยนผ่านหรือไม่? อย่างไร? คำตอบเหล่านี้ อยู่ที่ไหน? อยู่กับใคร? เป็นเรื่องท้าทายที่ต้องไปให้ถึง
อ้างอิง
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
สุภิรัฐพงศ์ พงศ์ศักดิ์ศรี
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
สุชาดา ทวีสิทธิ์
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
วรรณี หุตะแพทย์,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
อมรา สุนทรธาดา
นนทวัชร์ แสงลออ
วรชัย ทองไทย
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ธีรนันท์ ธีรเสนี
สุพัตรา ฌานประภัสร์
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สิรินทร์ยา พูลเกิด
อมรา สุนทรธาดา
ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น
ปราโมทย์ ประสาทกุล
จรัมพร โห้ลำยอง,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
พิมลพรรณ นิตย์นรา
ณัฐณิชา ลอยฟ้า
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
สิรินทร์ยา พูลเกิด
อมรา สุนทรธาดา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ปราโมทย์ ประสาทกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
สิรินทร์ยา พูลเกิด