The Prachakorn

อัตราเกิดน้อย: ผลกระทบทางประชากรอันเนื่องจากโควิด-19


จงจิตต์ ฤทธิรงค์

25 ตุลาคม 2564
966



ประชากรไทยเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 พวกเราปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่เพื่อให้มีชีวิตรอดจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เช่น การทำงานที่บ้านจนหมดไฟ (burnout) กันไปหลายรอบ นักศึกษามหาวิทยาลัยเรียนแต่ออนไลน์ จึงขาดโอกาสในการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศจนกลายเป็นคู่รัก ผู้คนโหยหาเศรษฐกิจที่ขับคลื่อนชีวิตให้ไปต่อได้ และดูเหมือนว่าสถานการณ์จะยังไม่กลับไปเหมือนเดิมในเร็ววันนี้เป็นแน่

ปรับจาก https://www.freepik.com/photos/woman’>Woman photo created by tirachardz-www.freepik.com

ผลกระทบจากโควิด-19 ที่กระทบต่อการเกิด การตายและการย้ายถิ่นจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากร ไม่ต่างไปจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ อย่างสงคราม และโรคระบาดในอดีต บทความนี้ขอเสนอผลกระทบต่อการเกิดของประชากร

การสำรวจเกี่ยวกับความตั้งใจในการมีบุตรของสหรัฐอเมริกาพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิงอายุ 18-49 ปีจะเลื่อนการมีบุตรออกไป หรือจะมีบุตรจำนวนลดลง ด้วยเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 อัตราเกิดในหลายรัฐลดลงราว 5-10% แคลิฟอร์เนียมีอัตราเกิดลดลง 7% ระหว่างปี 2019-2020 อัตราเกิดในสเปนระหว่างปี 2020-2021 ลดลง 23% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า1

ปี 2563 ประเทศไทยมีจำนวนเด็กเกิดเพียงไม่ถึง 6 แสนคน ซึ่งเป็นจำนวนต่ำที่สุดในรอบเกือบ 7 ทศวรรษ น่าเสียดายที่ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ยืนยันว่าอัตราเจริญพันธุ์รวมจะลดลงเหลือเท่าไร หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่คิดว่าจะได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่นๆ เช่นกัน

โสดมีตติ้งที่ภาครัฐวางแผนจะจัดให้คนโสดมาพบกัน เป็นอันต้องหยุดชะงักไปเพราะประชาชนต้องรักษาระยะห่างและใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มอัตราเกิดหากภารกิจของศบค. สิ้นสุดลงแล้ว รัฐบาลอาจต้องตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจชุดใหม่ “ศูนย์บริหารความสัมพันธ์หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” เพื่อเพิ่มจำนวนคู่แต่งงานใหม่ และอัตราเกิดของประเทศไทยอย่างเร่งด่วน เพื่อชดเชยจำนวนเด็กที่ยังไม่ได้เกิดอันเนื่องมาจากโควิด-19
 


อ้างอิง

  1. Lindberg LD, VandeVusse A, Mueller J, Kirstein M. Early Impacts of the COVID-19 Pandemic: Findings from the 2020 Guttmacher Survey of Reproductive Health Experiences. New York: Guttmacher Institute; 2020. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2564

 



CONTRIBUTOR

Related Posts
COVID-19 โรคเปลี่ยนโลก

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา

อนาคตเด็กไทยหน้าติดจอ

นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง

ด้วยรักและโรคระบาด

ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ

ประชากรศาสตร์ของโควิด-19

ปราโมทย์ ประสาทกุล

เลี้ยงลูกในยุคโรคระบาด

มนสิการ กาญจนะจิตรา

โควิด-19 กับ มูลค่าชีวิตคน

เฉลิมพล แจ่มจันทร์

โกหกคำโต (big lie)

วรชัย ทองไทย

เมื่อโควิด-19 กำลังจะผ่านไป

ปราโมทย์ ประสาทกุล

มองประชากรศึกษาผ่านกรอบเควียร์

ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง

เกิดน้อย...ก็ดีนะ

มนสิการ กาญจนะจิตรา

หาว

วรชัย ทองไทย

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th