นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 โลกได้พบกับความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความพยายามในการควบคุมการระบาดของโรคผ่านมาตรการต่างๆ การเร่งพัฒนาวัคซีนและยาต่างๆ การบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณสุขที่มีอย่างจำกัด และการประคับประคองเศรษฐกิจให้ยังคงเดินหน้าต่อไป
ท่ามกลางความวุ่นวายโกลาหลเหล่านี้ หลายครั้งทำให้ผลกระทบของโควิด-19 ต่อสภาพจิตใจถูกมองข้ามไป แต่ความบาดเจ็บทางจิตใจจากวิกฤติโรคระบาดนั้น ได้เริ่มสั่งสมในสังคมตั้งแต่แรกเริ่มของการระบาด และจะเป็นสิ่งที่ยังคงเหลือต่อไปแม้จะควบคุมการระบาดได้แล้วก็ตาม
ผลกระทบทางจิตใจที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีจากการระบาดของโควิด-19 ได้แก่ ความเครียด ความกังวล และความเหนื่อยล้า แต่มีอีกผลกระทบหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือ ความเหงา
ที่มา: https://www.th.depositphotos.com สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564
ความเหงา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อความสัมพันธ์ทางสังคมที่บุคคลหนึ่งมีในขณะนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าที่บุคคลนั้นต้องการ หมายความว่า ความเหงาจะเกิดขึ้นเมื่อคนๆ หนึ่งรู้สึกว่าปฏิสัมพันธ์ที่ตนเองมีกับผู้อื่น “ยังน้อยเกินไป” เมื่อเทียบกับความต้องการ ซึ่งหมายความว่า คนที่อยู่คนเดียวไม่ได้จำเป็นต้องเหงาเสมอไป หากคนนั้นพอใจในระดับความสัมพันธ์ทางสังคมที่มี และในทางกลับกันคนที่อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย ก็อาจรู้สึกเหงาได้เช่นกัน
ความเหงาส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายและจิตใจมากกว่าที่คิด การศึกษาจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าความเหงามีความเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคหัวใจ การใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติด ความรุนแรงในครอบครัว และการฆ่าตัวตาย
ตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 ได้มีการสำรวจความเหงาในระดับโลกในปี 2561 โดยมีผู้เข้าร่วมการสำ.รวจนี้มากกว่า 55,000 คน จากมากกว่า 237 ประเทศ งานศึกษานี้พบว่า ประเทศที่มีวัฒนธรรมความเป็นปัจเจกสูง เช่น ในสังคมตะวันตก มีระดับความเหงาสูงกว่าประเทศที่มีความพึ่งพาอาศัยกันสูงกว่า เช่น ในสังคมตะวันออก
งานวิจัยนี้ยังพบว่า กลุ่มที่มีโอกาสเหงาสูงสุด คือกลุ่มเยาวชนอายุ 16-24 ปี ซึ่งขัดกับความเข้าใจของหลายคนที่คิดว่าผู้สูงอายุน่าจะมีความเหงาสูงสุด แต่แท้ที่จริงแล้ว กลุ่มคนหนุ่มสาวเป็นกลุ่มคนที่มีความคาดหวังด้านความสัมพันธ์สูงเมื่อเทียบกับคนที่มีอายุมากกว่า ทำให้เยาวชนจำนวนมากยังรู้สึกไม่เติมเต็มด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น
แน่นอนโควิด-19 ทำให้โอกาสการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน แม้กระทั่งกับครอบครัวลดลง ส่งผลให้จำนวนคนเหงาทะยานสูงขึ้นตั้งแต่แรกเริ่มของการระบาดเป็นต้นมา การสำรวจระดับประเทศในสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนตุลาคม 2563 โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 36% มีอาการเหงาอย่างรุนแรง (คือรู้สึกเหงาบ่อยครั้ง หรือเกือบตลอดเวลา) ในช่วงระยะเวลา 4 สัปดาห์ก่อนการตอบแบบสอบถาม โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อความเหงาสูงสุด คือ กลุ่มเยาวชนอายุ 18-25 ปี ที่กว่า 61% รายงานว่ามีอาการเหงาอย่างรุนแรง (43% ของเยาวชนรายงานว่ารู้สึกเหงามากขึ้นตั้งแต่มีโรคระบาด) และกลุ่มแม่ลูกอ่อน 51% ที่รายงานว่ามีอาการเหงาอย่างรุนแรง (47% ของแม่ลูกอ่อนรายงานว่ารู้สึกเหงามากขึ้นตั้งแต่มีโรคระบาด)
การสำรวจในประเทศอังกฤษพบผลที่คล้ายคลึงกัน คือ กลุ่มเยาวชน และกลุ่มพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว มีระดับความเหงาสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ เช่นเดียวกับการสำรวจในประเทศญี่ปุ่น แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่นพบว่า ถึงแม้โดยรวมกลุ่มเยาวชนมีสัดส่วนคนเหงาสูงกว่า แต่โควิด-19 เพิ่มสัดส่วนคนเหงาในกลุ่มผู้สูงอายุสูงที่สุด
สำหรับแนวทางในการช่วยจัดการความเหงาในประชากร มีการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ได้เสนอแนวทางไว้ 3 ข้อ ดังนี้
อ้างอิง
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ภูเบศร์ สมุทรจักร
สักกรินทร์ นิยมศิลป์
สุริยาพร จันทร์เจริญ
นันท์สินี ศิริโกสุม,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
วรชัย ทองไทย
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
สุรีย์พร พันพึ่ง
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ปัณณวัฒน์ เถื่อนกลิ่น
นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง
ณัฐพร โตภะ
ปรียา พลอยระย้า
ภัสสร มิ่งไธสง
อมรา สุนทรธาดา