จากบทความ (When will life return to normal? In 7 years at today’s vaccine rates)1 ทำให้เกิดคำถามมากมายว่า เราจะต้องใช้ชีวิตอยู่กับ New Normal นี้อย่างไร?
ปีที่ผ่านมาเราได้รู้จักโรคอุบัติใหม่ที่มีชื่อว่า COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสุขภาพ นอกจากผลกระทบเหล่านี้เป็นผลกระทบทางตรงจากการระบาดของโรค เรายังพบปัญหาอีกหนึ่งอย่าง คือ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม แล้วปัญหาสิ่งแวดล้อมนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
สืบเนื่องจากประเทศไทยพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 รายแรกในเดือนมกราคมปี 2563 และมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจำนวนมากในช่วงกลางเดือนมีนาคมในปีเดียวกันนี้เอง ส่งผลให้รัฐบาลออกมาตรการล็อคดาวน์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” รวมทั้งการประกาศมาตรการห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้าน ส่งผลให้มีการใช้บริการส่งอาหาร (food delivery) เพิ่มมากขึ้น มาพร้อมกับบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastic) ที่กลายเป็นขยะจำนวนมากทันทีหลังการบริโภค และขยะเหล่านี้จะไม่ถูกนำกลับมาใช้ เพราะมีความกังวลต่อการเสี่ยงสัมผัสโรค
ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้ขยะพลาสติกทั่วประเทศ มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากปริมาณขยะ 5,500 ตัน/วัน เป็น 6,300 ตัน/วัน2 เบื้องต้นหลังการแพร่ระบาดระลอกแรก กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกลุ่มผู้ประกอบการบริการส่งอาหาร ขับเคลื่อนการดำเนินงาน “Food delivery วิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เพื่อร่วมกันผลักดันให้มีการลด เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวจากการบริการส่งอาหาร และใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทดแทน
ไม่เพียงแค่ประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากโรค COVID-19 แล้ว จากงานวิจัย The impacts of COVID-19 on the environmental sustainability: a perspective from the Southeast Asian region3 พบว่า ประเทศในแถบตะวันออกเฉียงใต้ เจอผลกระทบนี้เช่นกัน เช่น ประเทศสิงคโปร์พบปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น 1,334 ตัน4 และประเทศมาเลเซีย พบขยะพลาสติกจากครัวเรือนเพิ่มขึ้น5 ประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศอินโดนีเชีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนามมีรายงานการเพิ่มขึ้นของขยะทางการแพทย์
การลดปริมาณขยะจากการใช้บริการ Delivery จะต้องได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาคประชาชน แม้ว่าภาครัฐจะออกมาตรการควบคุมขยะอย่างไร หากไร้ความร่วมมือจากภาคประชาชนก็ไร้ผล ดังนั้นควรเริ่มที่เราทุกคน การลดขยะสามารถทำได้ง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอน ตามหลักการ 3REs “ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ (Reduce, Reuse and Recycle)”6 ยกตัวอย่างเช่น
แม้ว่าเราจะต้องอยู่กับชีวิตวิถีใหม่ New Normal นี้ไปอีก 7 ปี แต่เรามาช่วยลดขยะพลาสติกร่วมกัน เพื่อเป็นสังคมไทยที่ปลอดโรค ปลอดขยะร่วมกันดีกว่า
ทีมา : https://www.pexels.com/th-th/photo/4226269/
เอกสารอ้างอิง
วรชัย ทองไทย
ปราโมทย์ ประสาทกุล
วรชัย ทองไทย
อมรา สุนทรธาดา
อมรา สุนทรธาดา
ปาริฉัตร นาครักษา,ขวัญฤทัย อมรดลใจ
ปาริฉัตร นาครักษา
เรืองริน ประทิพพรกุล
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
พิมลพรรณ นิตย์นรา
อมรา สุนทรธาดา
บุรเทพ โชคธนานุกูล
วรชัย ทองไทย
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
ศุทธิดา ชวนวัน
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
เพ็ญพิมล คงมนต์
ณปภัช สัจนวกุล
สิรินทร์ยา พูลเกิด
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ศิรดา เขมานิฏฐาไท
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
ภูเบศร์ สมุทรจักร
จรัมพร โห้ลำยอง,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต
ธีระพจน์ คำรณฤทธิศร
มนสิการ กาญจนะจิตรา
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ประทีป นัยนา