เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีส่วนให้แบบแผนทางระบาดวิทยาเปลี่ยนแปลงไป โดยเป็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้จำนวนผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงการดูแลจากสมาชิกในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น แต่ศักยภาพของครัวเรือนไทยในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลับลดถอยลง นอกจากนี้การจัดการระบบดูแลผู้สูงอายุทั้งในด้านสุขภาพและสังคมของประเทศไทยที่ผ่านมายังดำเนินการแบบแยกส่วน การดำเนินงานอยู่ในภาวะตั้งรับและเป็นการสงเคราะห์เป็นครั้งคราว และขาดกลไกสนับสนุนด้านการคลังที่มีประสิทธิผล อีกทั้งระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลยังอิงกับการจัดบริการรักษาพยาบาลแบบเฉียบพลันเป็นหลัก ขาดการปรับตัวเพื่อรองรับการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นองค์กรหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันระบบการดูแลระยะยาว (Long-term Care: LTC) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน โดยเน้นสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว และชุมชน มีขีดความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีในครอบครัวและชุมชน และเชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพและบริการทางสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ การนำเสนอครั้งนี้จะนำเสนอความเป็นมาของระบบ LTC และการบริหารจัดการระบบ โดย สปสช. และความท้าทายในการจัดการระบบฯ
Facebook Link: https://www.facebook.com/255818394487885/videos/837312296811921
กาญจนา เทียนลาย
ประสาน อิงคนันท์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
มนสิการ กาญจนะจิตรา
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
กาญจนา เทียนลาย
ดวงวิไล ไทยแท้
สุพัตรา ฌานประภัสร์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
สุรีย์พร พันพึ่ง,ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
กาญจนา เทียนลาย,ศุทธิดา ชวนวัน
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปาริฉัตร นาครักษา,ขวัญฤทัย อมรดลใจ
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
สาสินี เทพสุวรรณ์
กาญจนา เทียนลาย
ณปภัช สัจนวกุล