“งานวิจัยขึ้นหิ้ง” คล้ายกับเป็นคำแสลงที่คนทำวิจัยทุกคนต่างไม่ต้องการให้เกิดขึ้นกับงานวิจัยของตนเอง ทว่าในความเป็นจริงมีงานวิจัยจำนวนหนึ่ง เมื่อทำเสร็จสมบูรณ์แล้วก็ถูกนำไปขึ้นไว้บนหิ้งอย่างไม่มีทางเลือกในช่วงหลังๆ (โดยเฉพาะหลังจากมีแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี) หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการทำงานวิจัย ที่ถูกคาดหวังโดย แหล่งทุนวิจัย มักผูกโยงกับการนำผลจากการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตั้งแต่การตีพิมพ์ผลการวิจัยในวารสารวิชาการ ผลผลิตจากการวิจัยที่เป็นรูปธรรมประเภทต่างๆ การคิดค้นโมเดลเชิงนวัตกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันผลการวิจัยสู่นโยบาย ซึ่งจะว่าไปแล้วในประเด็นหลังนี้ ดูเหมือนจะไม่ใช่สิ่งที่กลุ่มนักวิจัยส่วนใหญ่ของประเทศมีความถนัดเท่าใดนักเพราะวิถีของนักวิจัยส่วนใหญ่จะขลุกอยู่กับการนำองค์ความรู้มา ออกแบบการวิจัย เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เสนอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางนโยบาย นำความรู้เหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ตามที่เหมาะที่ควร แต่ในปัจจุบัน หน้าที่ดังกล่าวถูกคาดหวังให้รวมอยู่ที่นักวิจัยด้วยในลักษณะ all in one เบ็ดเสร็จในคนๆ เดียว
ผู้เขียนโชคดีที่ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการนำผลการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย ครั้งแรกในปี 2557 เกี่ยวกับแนวคิดการขับเคลื่อนนโยบาย (policy advocacy) จัดโดยแผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ และอีกครั้งในปี 2559 เรื่องการสื่อสารนโยบาย (policy communication) จัดโดยกลุ่มภารกิจสุขภาพโลกมหิดล ซึ่งการอบรมทั้งสองครั้ง สร้างแรงบันดาลใจ แนวคิด เทคนิควิธีการและที่สำคัญคือนำผู้เขียนออกจากเขต comfort zone มารู้จักและเข้าใจถึงประโยชน์ของการนำผลของการวิจัย สู่การสร้าง ประโยชน์ให้สังคมผ่านช่องทางการผลักดันนโยบายจนถึงวันนี้ ผู้เขียนพยายามพัฒนาทักษะในเรื่องนี้ให้เกิดผลเชิงประจักษ์ เพราะเชื่อมั่นว่า “นโยบาย” คือ “หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มโอกาสให้กับประชาชนผู้รับประโยชน์ทางนโยบายได้อย่างถ้วนหน้า”
ในปี 2555 ผู้เขียนและคณะนักวิจัย “โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย” พบว่า เด็กและเยาวชนไทยมากกว่าครึ่งมีการเคลื่อนไหวร่างกายไม่เพียงพอ ที่จะสนับสนุนพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เนื่องจากข้อมูลที่พบในทุกๆ ปียืนยันเช่นนั้น1 ด้วยเหตุนี้ในปี 2559 เราจึงคิดว่า จำเป็นต้องมีการพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับเด็กและเยาวชนไทยขึ้นมา เพื่อให้นำไปสู่การใช้และจัดการปัญหาที่เราค้นพบ จึงได้เกิด “โครงการวิจัยโรงเรียนฉลาดเล่น”2 ที่มุ่งจัดการและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน ตั้งแต่นโยบายของโรงเรียน ตัวครูและนักเรียน ไปจนถึง บริบทแวดล้อมของโรงเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน โดยมีโรงเรียน ต้นแบบเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 17 แห่ง
ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา คณะวิจัยของเราได้ติดตามทดสอบประสิทธิผลของโมเดลต้นแบบสำหรับการส่งเสริมกิจกรรมทางกายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ได้ข้อยืนยันว่า ต้นแบบดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อพฤติกรรมของนักเรียน ขณะเดียวกันยังยืนยันโดยผู้บริหารโรงเรียนและคุณครูผู้ใช้ว่า เป็นแนวคิดที่สามารถปรับประยุกต์และบูรณาการเข้ากับกิจกรรมเชิงนโยบายและการเรียนรู้อื่นๆ ได้อย่างไม่ติดขัด คณะวิจัยมีความเชื่อว่า การส่งเสริมให้เด็กๆ ทุกคนในประเทศไทย มีโอกาส “เล่น-เรียน-รู้” อย่างมีความสุข สนุกสนาน พร้อมๆ กับการเรียนรู้ จะก่อให้เกิดประสบการณ์ตรง ที่จะส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยอย่างรอบด้าน เกิดสมรรถนะหลักและกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและเต็มศักยภาพ
อย่างไรก็ดี แม้ผลจากการวิจัยจะยืนยันให้เห็นถึงประสิทธิผลจากรูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่ถูกพัฒนาขึ้น ทว่าโจทย์ท้าทายถัดไปที่ยากยิ่งกว่าคือ การนำผลของการวิจัยดังกล่าว ไปผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง ที่ต้องอาศัยกระบวนการเชิงนโยบายร่วมด้วย กระบวนการคิดออกแบบ และมองหาแนวหนุนและแนวร่วม ที่จะช่วยทำให้กระบวนการผลักดันทางนโยบายดังกล่าวนี้ ประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่พวกเรากำลัง เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และรอคอยวันที่จะเห็นความสำเร็จของมัน
(ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพแล้ว)
ท่านสามารถสแกนและดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับโรงเรียนฉลาดเล่นได้ที่นี่
โยธิน แสวงดี,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา,ดนุสรณ์ โพธารินทร์,Dyah Anantalia Widyastari
กรกนก พงษ์ประดิษฐ์
กัญญา อภิพรชัยสกุล
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
กรกนก พงษ์ประดิษฐ์
วรชัย ทองไทย
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
ณัฐณิชา ลอยฟ้า
กรกนก พงษ์ประดิษฐ์,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
ฐิติกร โตโพธิ์ไทย
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
นฤมล เหมะธุลิน,อภิชาติ แสงสว่าง