หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลาย มาตรการต่างๆ ที่ควบคุมการอยู่ในที่สาธารณะหรือชุมชนเริ่มผ่อนปรนลง เราก็เริ่มจะได้เห็นผู้คนออกมาใช้ชีวิตกันเป็นปกติมากขึ้น แต่ที่เพิ่มเติมคือหน้ากากอนามัยที่ทุกคนต้องสวมใส่เมื่อพบปะผู้คน และเจลแอลกอฮอล์ ที่หลายคนพกติดตัวเพื่อล้างมือฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งทั้งสองอุปกรณ์เสริม นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้แล้ว ยังช่วยลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสตัวอื่นได้อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากข้อมูลผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่และโรคทางเดินหายใจลดลงอย่างมากในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา1 นี่จึงถือว่าเป็นผลพลอยได้จากโควิด-19 ที่ทำให้เรามีพฤติกรรมการระวังตัวและดูแลความสะอาดกันมากขึ้น
นอกจากพฤติกรรมการดูแลความสะอาดที่ดีขึ้นแล้ว หลายคนก็เริ่มให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพในภาพรวมของตนเองมากขึ้น ทุกวันนี้ ในที่สาธารณะเราเริ่มเห็นผู้คนที่ออกมาเดินวิ่ง หรือขี่จักรยาน กันหนาตามากยิ่งขึ้น แม้ว่าจริงๆ แล้วหลายคนเริ่มให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายกันมากขึ้น ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 เสียอีก จากที่เราจะเห็นได้จากการจัดกิจกรรมวิ่งมาราธอนที่มีให้เห็นกันเกือบทุกสัปดาห์และในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ซึ่งนับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ทั้งนี้ การวิ่งจะช่วยทำให้ร่างการแข็งแรงและช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้หลายชนิด
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเรื่องการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายของคนไทยทั่วประเทศใน พ.ศ. 2554 (ซึ่งเป็นปีล่าสุดที่ทำการสำรวจ ก่อนเปลี่ยนชื่อการสำรวจและข้อคำถามเป็นการสำรวจกิจกรรมทางกายใน พ.ศ. 2558)2 พบว่าคนไทย (อายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป) เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายประมาณ 15.1 ล้านคน และในจำนวนนี้ ร้อยละ 18.5 ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง รองจากการเดิน (ร้อยละ 20)3 การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ทำได้ไม่ยาก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนัก ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ (มีเพียงรองเท้าวิ่งหนึ่งคู่ก็สามารถวิ่งได้แล้ว) และสามารถวิ่งที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเข้าฟิตเนส จะวิ่งรอบหมู่บ้าน มหาวิทยาลัย หรือในชุมชน ในสวนสาธารณะ สามารถทำได้หมด แม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ก็มีการแนะนำการวิ่งที่บ้าน คือ ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะก็สามารถวิ่งได้ โดยไม่ต้องใช้ลู่วิ่ง (treadmill) ด้วย
การวิ่งจึงเป็นทางเลือกเบอร์ระดับต้นๆ ของคนรักสุขภาพ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นทางเลือกที่ไม่สร้างภาระเยอะให้กับคนวิ่งแล้ว การวิ่งยังเป็นการออกกำลังกายที่ให้คุณอนันต์อีกด้วย จากผลการศึกษาล่าสุดที่ทำการสังเคราะห์และประมวลผลงานวิจัย 14 ชิ้น รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 232,149 คน ที่มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 5.5 – 35 ปี4 พบว่า การวิ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต (all-cause mortality) ได้ร้อยละ 27 ช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจ (Cardiovascular disease) ร้อยละ 30 และช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับการไม่วิ่งเลย นอกจากนี้ ผลการศึกษาชิ้นนี้ยังระบุว่า การวิ่งเพียงแค่สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง หรือเพียง 50 นาทีต่อสัปดาห์ โดยที่สปีดการวิ่งไม่ต้องสูงมาก (ไม่ควรเกิน 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้แล้ว4
อย่างนี้ต้องบอกว่าการวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่คุ้มแสนคุ้ม มีแค่ใจและเวลา (แค่ 50 นาทีต่อสัปดาห์) ก็สามารถรักษาสุขภาพและลดความเสี่ยงได้มากมาย เราจึงไม่ควรรอช้า มาวิ่งกันเถอะคะ
ที่มา: www.nicetofit.com/วิ่งออกกำลังกาย/
ภาพเปิดโดย Daniel Reche from Pixabay
อ้างอิง
กรกนก พงษ์ประดิษฐ์
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
กัญญา อภิพรชัยสกุล
กรกนก พงษ์ประดิษฐ์,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
สิรินทร์ยา พูลเกิด
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
วิภาพร จารุเรืองไพศาล
สาสินี เทพสุวรรณ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด
สุพัตรา ฌานประภัสร์
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
วรชัย ทองไทย
มนสิการ กาญจนะจิตรา
วรชัย ทองไทย
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
พรสุรีย์ จิวานานนท์
อมรา สุนทรธาดา
นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์
วริศรา ไข่ลือนาม
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล