บทความนี้เป็นสรุปเนื้อหาสำคัญของบทความวิจัยตีพิมพ์ จากโครงการประเมินประสิทธิผลการใช้เกณฑ์จำแนกอาหารในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนไทย ปี 2564 ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้ความร่วมมือกับ Institute for Physical Activity and Nutrition, School of Exercise and Nutrition Sciences, Deakin University ประเทศออสเตรเลีย โดยบทความนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตอาหารแปรรูปพิเศษ (ultra-processed food, UPF) ที่มีในท้องตลาดของประเทศไทย ในมิติของการค้าปลีก ค่าใช้จ่ายผู้บริโภค และคุณค่าทางโภชนาการ
การศึกษานี้ได้นำข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารจากสองแหล่งข้อมูลมาวิเคราะห์ ได้แก่ ฐานข้อมูล Euromonitor Passport Database เพื่อวิเคราะห์มูลค่าและปริมาณการขาย UPF และค่าใช้จ่ายผู้บริโภคที่เกี่ยวข้อง และฐานข้อมูล Mintel Global New Products Database เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของ UPF โดยใช้เกณฑ์ประเมินคุณค่าทางโภชนาการของ WHO South-East Asia Region (WHO-SEAR) Nutrient Profile Model ซึ่งมี 16,233 ผลิตภัณฑ์อาหารจากฐานข้อมูลนี้ที่เป็น UPF และสามารถถูกประเมินด้วยเกณฑ์ประเมินของ WHO-SEAR ได้
ผลการศึกษาช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจบทบาทของ UPF ในวิถีชีวิตการกินของผู้บริโภคไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการขาย UPF ในตลาดอาหารของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องดื่มประเภทแต่งสีหรือแต่งกลิ่น อาหารพร้อมบริโภค และขนมอบ แหล่งเข้าถึง UPF หลักของคนไทย เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ ขณะที่ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคต่อคนไปกับ UPF มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และ UPF หลายผลิตภัณฑ์มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ โดยมีสารอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม สูงเกินเกณฑ์ที่ WHO-SEAR กำหนด
ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดทิศทางนโยบายและการดำเนินงานต่างๆ ของภาครัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการอาหารประเภท UPF เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่ดีต่อสุขภาพของคนไทยให้มากยิ่งขึ้น และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่จะตามมา
ที่มาของบทความ
Phulkerd, S., Thongcharoenchupong, N., Dickie, S. et al. Profiling ultra-processed foods in Thailand: sales trend, consumer expenditure and nutritional quality. Global Health 19, 64 (2023). https://doi.org/10.1186/s12992-023-00966-1
ภาพปก freepik.com (premium license)
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
สิรินทร์ยา พูลเกิด
สิรินทร์ยา พูลเกิด
สิรินทร์ยา พูลเกิด
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์,สิรินทร์ยา พูลเกิด
วาทินี บุญชะลักษี
วรชัย ทองไทย
วรชัย ทองไทย
วรเทพ พูลสวัสดิ์
สุพัตรา ฌานประภัสร์
เฉลิมพล แจ่มจันทร์
ปราโมทย์ ประสาทกุล