ย้อนสถานการณ์ปี 2564 เด็กและเยาวชนทั่วโลกดิ้นรนเพื่อหลีกให้พ้นความรุนแรงและความยากจนจากสาเหตุหลักดังนี้ ความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อความสงบภายในประเทศ ภัยพิบัติธรรมชาติจากภาวะโลกร้อน และการระบาดของโควิด-19 ตลอดช่วง 3 ปี ที่ผ่านมานั้น เด็กและเยาวชนได้รับผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนอาหาร การเข้าถึงบริการสุขอนามัย รวมทั้งโอกาสเรื่องการศึกษา UNICEF เร่งระดมทุนจำนวน 933 ล้านเหรียญสหรัฐ1 เพื่อจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ เช่น อุปกรณ์ตรวจหาเชื้อ วัคซีน สำหรับเด็กและเยาวชนทั่วโลก
ในปี 2565 นี้ UNICEF มีงบประมาณ 9,400 ล้านเหรียญสหรัฐ2 ซึ่งเป็นงบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เปรียบเทียบกับปี 2564 เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนประมาณ 177 ล้านคน ใน 145 ประเทศรวมทั้งเขตปกครองพิเศษ ที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อน และการระบาดของโควิด-19
งบประมาณประจำปีดังกล่าว จำนวน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ จะจัดสรรสำหรับเด็กและเยาวชน 13 ล้านคน ในอัฟกานิสถาน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงสุดต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยในชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ ในจำนวนนี้ เด็ก 1 ล้านคนมีปัญหาด้านโภชนาการขั้นวิกฤต
ผลสืบเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศอย่างรุนแรงในหลายประเทศ ความอดอยากผลักดันให้มีผู้ย้ายถิ่นจำนวนมหาศาลหนีออกนอกประเทศเพื่ออนาคตที่ดีกว่า ผลจากวิกฤตดังกล่าวทำให้มีผู้อพยพทุกเพศวัยต้องอาศัยในค่ายรับผู้อพยพเป็นการชั่วคราว จนกว่าองค์กรนานาชาติจะดำเนินการส่งผู้อพยพไปประเทศที่สามเพื่อการตั้งถิ่นฐาน ซึ่งมีขั้นตอนมากมายเพราะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงสากลว่าด้วยการเข้าพำนักอาศัยของผู้ย้ายถิ่นหรือผู้ลี้ภัยในประเทศปลายทางหรือประเทศที่สาม ในขณะที่ประเทศที่พร้อมรับผู้ย้ายถิ่นหรือผู้ลี้ภัยเพื่อการตั้งถิ่นฐานมีจำนวนลดลง
รูป: เยาวชนจากโมร็อกโกเสี่ยงชีวิตใช้ขวดพลาสติกเปล่าพยุงตัวว่ายน้ำข้าม ช่องแคบยิบรอลตาร์ เพื่อขึ้นฝั่งที่เมือง Ceuta เขตปกครองพิเศษภายใต้ ข้อตกลงระหว่างโมร็อกโกและสเปน
ที่มา: https://www.reuters.com/world/europe/spain-deploys-army-ceuta-patrol-border-with-morocco-after-migrants-break-2021-05-18/ สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565
เนื่องจากเด็กและเยาวชนที่มีสถานะผู้อพยพหรือผู้ย้ายถิ่น มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยเพราะไม่สามารถดูแลตนเองได้ เช่น กรณีการไม่ได้เดินทางพร้อมครอบครัว บางกรณีถูกลักพาตัวและสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ UNICEF ได้ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยสูงสุดสำหรับเด็กและเยาวชนที่พลัดถิ่น โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้3
UNICEF ตั้งเป้าหมายภารกิจปี 25652 ดังนี้
รูป: อุปกรณ์ยังชีพและน้ำสะอาดสร้างรอยยิ้มให้ประชากร 2 ล้านคน ที่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนและน้ำท่วมอย่างหนักในเวียดนาม
ที่มา: https://www.unicef.org/stories/something-to-smile-about สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565
ภาพปก https://abkhazworld.com/aw/current-affairs/1309-the-implementation-of-the-project-of-unicef-in-abkhazia-can-be-extended สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2565
สิรินทร์ยา พูลเกิด
ปราโมทย์ ประสาทกุล
นันท์สินี ศิริโกสุม,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
เพ็ญพิมล คงมนต์
ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปราโมทย์ ประสาทกุล
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา,ชุติมา อยู่สมบูรณ์
รีนา ต๊ะดี
อมรา สุนทรธาดา
อมรา สุนทรธาดา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
อมรา สุนทรธาดา
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต,สุภรต์ จรัสสิทธิ์
สุชาดา ทวีสิทธิ์