รายงานจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ระบุว่า นับตั้งแต่เกิดสงครามในยูเครน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2565 มีผู้ลี้ภัยจากยูเครน 5,317,219 คน (จำนวนผู้ลี้ภัยจากยูเครนในประเทศปลายทาง ดูตาราง 1) โดยผู้ลี้ภัยราวร้อยละ 90 เป็นผู้หญิงและเด็กเนื่องจากชายชาวยูเครนอายุ 18-60 ปี ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ เนื่องจากต้องเตรียมพร้อมเพื่อเป็นกองกำลังสำรองของกองทัพ มีผู้พลัดถิ่นฐานภายในประเทศประมาณ 7 ล้านคน
ตาราง 1 จำนวนผู้ลี้ภัยจากยูเครนในประเทศปลายทาง1
ประเทศ | แหล่งข้อมูล | จำนวน | วันที่ |
---|---|---|---|
โปแลนด์ | รัฐบาล | 3,234,036 | 9 พฤษภาคม 2565 |
โรมาเนีย | รัฐบาล | 883,655 | 9 พฤษภาคม 2565 |
รัสเซีย | รัฐบาล | 739,418 | 9 พฤษภาคม 2565 |
ฮังการี | รัฐบาล | 572,760 | 9 พฤษภาคม 2565 |
สาธารณรัฐมอนโดวา | รัฐบาล | 457,066 | 9 พฤษภาคม 2565 |
สโลวาเกีย | รัฐบาล | 404,463 | 9 พฤษภาคม 2565 |
เบลารุส | รัฐบาล | 26,983 | 9 พฤษภาคม 2565 |
แม้ว่ารัสเซียและยูเครนจะสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษเดียวกัน นับถือศาสนาคริสต์นิกาย Byzantine Orthodoxy เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 2534 มีประเทศเกิดใหม่ที่แยกตัวออกมาหลายประเทศ เช่น มอนโดวา เบลารุส และยูเครน ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนเปราะบางมาก มีเหตุการณ์ทางการเมืองที่รัสเซียพยายามแทรกแซง เช่น กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในยูเครน ความขัดแย้งช่วงปี 2557 เมื่อรัสเซียให้การสนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดนในยูเครน 2 กลุ่ม คือ Donetsk People’s Republic และ Luhansk People’s Republic ที่ต้องการแยกเป็นประเทศใหม่ โดยรัฐบาลรัสเซียให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ความขัดแย้งดังกล่าวระหว่าง ปี 2557-2563 มีผู้เสียชีวิตราว 13,000 คน
ผู้นำยูเครนต้องการถ่วงดุลอำนาจโดยการพยายามขอเป็นสมาชิกประชาคมยุโรป (EU) ในขณะเดียวกันยังคงความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซีย
ในช่วงปี 2564-2565 เริ่มมีความขัดแย้งเกิดขึ้นและการต่อต้านถึงขั้นการทำสงคราม เมื่อกองทัพรัสเซียเปิดการสู้รบในหลายเมืองในยูเครน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 รัฐบาลยูเครนตอบโต้ด้วยการทุบทำลายสิ่งก่อสร้างเชิงสัญลักษณ์รวมทั้งการปลดชื่อถนนหลายสายที่เป็นภาษารัสเซีย
ประธานาธิบดีปูตินส่งกองกำลังทั้งภาคพื้นดินและอากาศ ทำลายเมืองสำคัญหลายแห่งด้านตะวันออกของยูเครนที่มีชายแดนติดต่อกับรัสเซีย เพื่อกระทบอเมริกาและประเทศพันธมิตรอื่นๆ ทำนองส่งสัญญาณว่า ถ้าให้ความช่วยเหลือหรือแทรกแซง ให้เตรียมรับมือกับสงครามนิวเคลียร์
ภาพ: ประชาชนเมือง Mariupol รอรับอาหารเพื่อความอยู่รอด2
ภาพ: พ่อโบกมือส่งกำลังใจลูกก่อนจากกันเพื่อความปลอดภัยในที่อยู่ใหม่3
ปูตินหวั่นการถูกลอยแพจากประเทศที่เคยเป็นพันธมิตรพึ่งพาเชิงเศรษฐกิจ เช่น จีน ที่รีรอแสดงท่าทีให้ชัดเจนว่าจะเลือกข้างไหน ส่งผลต่อการรุกคืบในสนามรบฝ่ายรัสเซียด้วยการเพิ่มกองกำลังพลและอาวุธที่มีสมรรถภาพทำลายล้าง เข้าโจมตีในเมืองสำคัญด้านตะวันออกของยูเครน แม้ยูเครนจะตั้งรับอย่างเข้มข้นด้วยอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรป ปัญหาทางยุทธศาสตร์คือการเร่งเคลื่อนย้ายประชาชนออกจากเป้าหมายให้เร็วที่สุด รัสเซียจะอ้างว่า สามารถยึดเมืองที่มั่นที่สำคัญไว้ได้ แต่ในทางยุทธศาสตร์กำลังพลรัสเซียหมดใจสู้รบและขัดขืนวินัย เช่น การดื่มสุราเพื่อย้อมใจยิงรถถังและอุปกรณ์อื่นๆ ให้เสียหาย เพื่อไม่ต้องรับคำสั่งหรือถ่วงเวลาเข้าจู่โจมเป้าหมาย
โปแลนด์และประเทศพันธมิตรอื่นๆ ที่ต้องแบกรับจำนวนผู้ลี้ภัย ร่วมกันจัดตั้งองค์กรฉุกเฉิน ชื่อ Inter-agency Regional Refugee Response Plan (RRP) เมื่อ 1 มีนาคม 2565 เพื่อปฏิบัติงานจนถึง ธันวาคม 2565 โดยมีหน่วยงานมากกว่า 100 องค์กร ร่วมปฏิบัติภารกิจด้านมนุษยธรรมโดยไม่หวังผลตอบแทน และประเทศต่างๆ ในยุโรป โดยเฉพาะประเทศปลายทางรับผู้ลี้ภัยจากยูเครน เช่น ฮังการี มอนโดวา โรมาเนีย สโลวาเกีย เบลารุส บัลกาเรีย และสาธารณรัฐเช็ก สร้างแผนปฏิบัติการช่วยเหลือทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวม 3 มาตรการ
การสู้รบในยูเครน สงครามตัวแทน ที่รัสเซียต้องการท้าทายอเมริกาที่ให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธที่มีประสิทธิภาพ เป็นเพียงการเริ่มต้นการเผชิญหน้าระหว่างสองขั้วอำนาจ มีผลอย่างยิ่งต่อสันติภาพโลก ประชาคมโลกกำลังหาทางรอดกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากหลายสาเหตุ รวมทั้งวิกฤตโควิด-19 หลักมนุษยธรรมอาจกลายเป็นเหรียญสองด้านหรือเครื่องมือของประเทศมหาอำนาจเพื่อจัดระเบียบโลกหรือไม่
อ้างอิง
ชณุมา สัตยดิษฐ์
อมรา สุนทรธาดา
นนทวัชร์ แสงลออ
อมรา สุนทรธาดา
สุภรต์ จรัสสิทธิ์
อมรา สุนทรธาดา
จงจิตต์ ฤทธิรงค์
อมรา สุนทรธาดา
วรชัย ทองไทย
อารี จำปากลาย
อมรา สุนทรธาดา
วรชัย ทองไทย
วรชัย ทองไทย
อมรา สุนทรธาดา
ศุทธิดา ชวนวัน
อมรา สุนทรธาดา
ภัทราภรณ์ จึงเลิศศิริ