The Prachakorn

นโยบายนำเข้าแรงงานต่างชาติของไทย (ทั้งแรงงานระดับล่างและแรงงานที่มีทักษะ) มีหรือไม่? เวทีนี้มีคำตอบ


12 พฤษภาคม 2564
288



รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล และ ผศ.ดร. สักรินทร์ นิยมศิลป์
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ประเทศไทยปัจจุบันกำลังเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางโครงสร้างประชากร จากการเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ขาดแคลนประชากรวัยแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแรงงานไทยที่มีฝีมือและแรงงานกึ่งฝีมือไหลออกไปทำงานต่างประเทศจำนวนกว่าหนึ่งแสนคนในทุกๆ ปี ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยิ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ความต้องการแรงงานข้ามชาติไม่ได้ลดลงเลย เมื่อมีการปิดประเทศกลับทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างมหาศาล โดยเราต้องการทั้งแรงงานระดับล่าง (unskilled and semi-skilled labour) จากประเทศเพื่อนบ้าน และแรงงานที่มีทักษะจากต่างประเทศ (foreign talents) สำหรับอุตสาหกรรมที่ทันสมัยในโลกยุค 4.0 ที่มีการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน (industrial disruption) คำถามสำคัญประการหนึ่งคือประเทศไทยเคยมีนโยบายนำเข้าแรงงานต่างชาติ (ทั้งแรงงานระดับล่างและแรงงานที่มีทักษะ) จริงๆ หรือไม่? หรือมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ ทั้งในเรื่องการนำเข้าแรงงาน การจดทะเบียนแรงงาน และการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ เรื่องวีซ่า เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น และในอนาคต ท่ามกลางโลกยุค 4.0 ประเทศไทย ควรมีนโยบายนำเข้าแรงงานอย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างประชากร และระดับการพัฒนาของประเทศ หวังว่าเวทีครั้งนี้จะช่วยสร้างบรรยากาศของการครุ่นคิดถึงสถานการณ์ด้านประชากรและแรงงานของไทยได้บ้างไม่มากก็น้อย

Facebook Link: https://fb.watch/5rfpUOR7V9/



CONTRIBUTOR

Related Posts
รำพึงรำพันวันสงกรานต์ 2562

ปราโมทย์ ประสาทกุล

โควิด-19 กับ มูลค่าชีวิตคน

เฉลิมพล แจ่มจันทร์

แรงงานไทยในต่างแดน

กาญจนา เทียนลาย

ออมก่อน พร้อมก่อน

วรรณี หุตะแพทย์

การเดินทางไกลที่คุ้มค่า

ปราโมทย์ ประสาทกุล

ประชากรไทยเริ่มลดลงแล้ว

ปราโมทย์ ประสาทกุล

โครงสร้างอายุเปลี่ยนสังคม

ปราโมทย์ ประสาทกุล

นโยบาย Replacement Migration กับ โควิด-19

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th