The Prachakorn

WALKABLE CITY เมื่อกรุงเทพฯ ออกเดิน


นงเยาว์ บุญเจริญ

12 ตุลาคม 2566
436



หนังสือ “WALKABLE CITY เมื่อกรุงเทพฯ ออกเดิน” มุ่งตอบคำถามสำคัญ 4 ประการคือ 1. มหานครกรุงเทพฯ มีสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเดินเท้ามากน้อยเพียงใด 2. พื้นที่ย่านเดินได้ ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพารถยนต์มีอยู่ที่ใดบ้าง3. คุณภาพของสภาพแวดล้อมการเดินเท้าดีมากน้อยเพียงใด และ 4. เราจะฟื้นฟูเมืองเพื่อส่งเสริมการเดินเท้าให้เกิดขึ้นในมหานครแห่งนี้อย่างไร

เนื้อหาของหนังสือ Walkable city เมืองสะดวกเดิน หรือ Walkability ความสะดวกเดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ทำไมเมืองต้องเดินได้เดินดี 1. เมืองสามแบบ เมืองเดินเท้า เมืองราง เมืองรถยนต์ 2. หากเมืองเดินได้แล้วผู้คนได้อะไร 3. เมืองแบบใหม่ ออกแบบเมืองอย่างไรให้ส่งเสริมการเดินและลดการพึ่งพารถยนต์ ส่วนที่ 2 มหานครกรุงเทพฯ เดินได้เดินดีเพียงใด 1. ดัชนีเมืองเดินได้ 2. ดัชนีเมืองเดินดี ส่วนที่ 3 เมื่อกรุงเทพฯ ออกเดิน 1. ความเป็นธรรมในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวด้วยการเดิน 2. เข้าถึงความรู้ด้วยการเดิน เปิด ปรับ เปลี่ยนมหาวิทยาลัยสู่ศูนย์กลางภูมิทัศน์ทางการศึกษาของเมือง 3. หาบเร่แผงลอยกับการเดินเท้า การใช้ตรรกะเชิงพื้นที่และสถาบันทางสังคมในการจัดการพื้นที่เมือง 4. สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ฝังเข็มเมืองให้เดินได้ เดินดี 5. สะพานเขียว ฝังเข็มเมืองให้เดินได้ เดินดี 6. ฟื้นฟูย่านอารีย์ให้เดินได้ เดินดี 7. ฟื้นฟูย่านทองหล่อ-เอกมัยให้เดินได้ เดินดี

หนังสือเล่มนี้เสมือนเครื่องมือนำทางความคิดที่มีบทบาทสำคัญต่อการวางแผนเพื่อการปฏิบัติจริง การผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมครบทุกมิติ สุดท้ายผู้เขียนเชิญชวนนักวิจัย นำผลการศึกษาต่อยอดเพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นในระดับสังคม เรียกร้องให้ประชาชนในมหานครช่วยกันผลักดันให้การเดินและเมืองเดินได้ กลายเป็นวาระสำคัญของการพัฒนาเมือง เพื่อให้ผู้ที่อาศัยและใช้ชีวิตในเมืองสามารถเข้าถึงความสุข ความสะดวกสบายและความรื่นรมย์ได้อย่างเท่าเทียมกัน

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม บัญญัติคำศัพท์ไว้ในศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม คำว่า walkability หมายถึง ความสะดวกเดิน ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://popterms.mahidol.ac.th/


ที่มา

นิรมล เสรีสกุล, อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้. (2566). Walkable City: เมื่อกรุงเทพฯ ออกเดิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ลายเส้นพับบลิชชิ่ง

 



CONTRIBUTOR

Related Posts
Smartphone: พี่เลี้ยงเด็กคนใหม่

กรกนก พงษ์ประดิษฐ์

มาวิ่งกันเถอะ

นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์

การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ

กรกนก พงษ์ประดิษฐ์,ปิยวัฒน์ เกตุวงศา

โรคอ้วน

วรชัย ทองไทย

Long COVID เจอ เจ็บ แต่ไม่จบ ?

สุริยาพร จันทร์เจริญ

ภาษา

วรชัย ทองไทย

เพศหลากหลาย Happy SDG กับ ภาพจำ ที่เปลี่ยนผ่าน?

วรรณี หุตะแพทย์,ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

Copyright © 2020 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333
Webmaster: piyawat.saw@mahidol.ac.th