โลกเราเผชิญกับโรคระบาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในรอบ 100 ปี อย่างโควิด 19 มาครบ 1 ปีพอดี ความหวังของคนส่วนใหญ่จึงพุ่งไปที่การพัฒนาวัคซีนที่น่าจะช่วยทำให้การแพร่ระบาดลดลงและเราจะกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็ว บทความนี้จึงขอนำเสนอข้อมูลเรื่องวัคซีนโควิด 19 สักหน่อย ว่าตอนนี้มีการพัฒนาอยู่กี่ชนิด และวัคซีนจะช่วยป้องกันเราจากไวรัสนี้ได้มากน้อยเพียงใด
ร่างกายเรามีกลไกการต่อสู้กับเชื้อโรคอยู่แล้ว คือ เม็ดเลือดขาว โดยเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้
เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคเข้ามา กลไกการต่อสู้กับเชื้อโรคก็จะเริ่มขึ้น ซึ่งสำหรับเชื้อโคโรน่าไวรัสที่ทำให้เกิดโควิด 19 เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ อาจต้องใช้เวลาหลายวัน หรืออาจเป็นสัปดาห์กว่าที่กลไกเหล่านี้จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้สำเร็จ เมื่อหายจากการเจ็บป่วย ร่างกายจะมีภูมิต้านทาน ซึ่งก็คือร่างกายจะเก็บ T-Cell ไว้ เรียกว่า “memory cell” คือ จะจดจำเชื้อโรคตัวนั้นที่เข้ามาในร่างกาย ถ้าหากได้รับเชื้อตัวเดิมอีกระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำงานเพื่อต่อสู้ได้ทันที ไม่ต้องใช้เวลานานเหมือนเมื่อได้รับเชื้อครั้งแรก
วัคซีนโควิด 19 ทำหน้าที่ในการช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานนี้ขึ้นมาได้โดยไม่ต้องติดเชื้อจริง ๆ โดยให้ร่างกายมี T-Cell หรือ memory cell ที่จดจำเชื้อโควิด 19 ไว้ ถ้าหากเกิดได้รับเชื้อขึ้นมาก็จะรู้ว่าต้องต่อสู้กับเชื้อนั้นอย่างไรได้ทันที
วัคซีนโควิด 19 ณ ขณะนี้ที่มีผลการทดลองระยะที่ 3 และได้รับการรับรองให้สามารถฉีดป้องกันในมนุษย์ได้แล้ว มี อยู่จาก 6 หน่วยงาน คือ
หน่วยงาน | Platform | สถานะ | ประสิทธิผล จำนวนโดส และการเก็บรักษา |
---|---|---|---|
Pfizer-BioNTech | mRNA | อนุมัติในแคนาดาและประเทศอื่น ๆ ใช้ในกรณีฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ |
ชื่อวัคซีน: Comirnaty (ชื่ออื่น ๆ tozinameran or BNT162b2 ) ประสิทธิผล: 95% จำนวนโดส: 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์ ประเภท: ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การเก็บรักษา: –70°C |
Moderna | mRNA | อนุมัติในแคนาดา ใช้ในกรณีฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอิสราเอล |
ชื่อวัคซีน: mRNA-1273 ประสิทธิผล: 94.5% จำนวนโดส: 2 โดส ห่างกัน 4 สัปดาห์ ประเภท: ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การเก็บรักษา: 30 วันในตู้เย็น 6 เดือนที่อุณหภูมิ –20°C |
Gamaleya | Viral vector Ad26, ad5 | เริ่มใช้ในรัสเซีย ใช้ในกรณีฉุกเฉินในเบลารุส และประเทศอื่น ๆ |
ชื่อวัคซีน: Sputnik V (ชื่ออื่น ๆ Gam-Covid-Vac) ประสิทธิผล: 91.4% จำนวนโดส: 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์ ประเภท: ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การเก็บรักษา: ในช่องแช่แข็ง |
Oxford-AstraZenaca | Viral vector ChAdOx1 | ใช้ในกรณีฉุกเฉินในประเทศอังกฤษ อินเดีย และประเทศอื่น ๆ | ชื่อวัคซีน: AZD1222 (ชื่ออื่น ๆ Covishield ในประเทศอินเดีย) ประสิทธิผล: 62% ถึง 90% ขึ้นอยู่กับจำนวนโดส จำนวนโดส: 2 โดส ห่างกัน 4 สัปดาห์ ประเภท: ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การเก็บรักษา: ในตู้เย็นอย่างน้อย 6 เดือน |
Sinopharm | Inactivated | อนุมัติในประเทศจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน ใช้ในกรณีฉุกเฉินในอียิปต์ |
ชื่อวัคซีน: BBIBP-CorV ประสิทธิผล: 79.34% จำนวนโดส: 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์ ประเภท: ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ |
Sinovac | Inactivated | ใช้ในบางกรณีในประเทศจีน | ชื่อวัคซีน: CoronaVac (ชื่อเดิม PiCoVacc) ประสิทธิผล: น้อยกว่า 78% จำนวนโดส: 2 โดส ห่างกัน 2 สัปดาห์ ประเภท: ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การเก็บรักษา: ในตู้เย็น |
ที่มา: Carl Zimmer, Jonathan Corum and Sui-Lee Wee, Coronavirus Vaccine Tracker. Updated Jan. 9, 2021 Available at: https://www.nytimes.com/interactive/2020/science/coronavirus-vaccine-tracker.html. Access on January 11, 2021
การผลิตวัคซีนใช้วิธีการแตกต่างกัน โดยมี 3 platform คือ mRNA viral vector และ inactivated
จะเห็นว่าวัคซีน ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ แต่เป็นการสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ทำให้เมื่อเราติดเชื้อขึ้นมา ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้อย่างรวดเร็ว การเจ็บป่วยก็จะน้อยลง นอกจากนี้ วัคซีนของทุกบริษัท ต้องฉีด 2 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 2-4 สัปดาห์ ถึงจะมีภูมิต้านทาน และประสิทธิผลของวัคซีน ยังไม่มีบริษัทไหนที่ได้ผล 100% ดังนั้น ถึงแม้เราจะฉีดวัคซีนแล้ว แต่การป้องกันตนเองโดยการใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อย ๆ การรักษาระยะห่าง จึงยังเป็นสิ่งที่จำเป็น
อ้างอิง
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
มนสิการ กาญจนะจิตรา
วรชัย ทองไทย
วรชัย ทองไทย
บุรเทพ โชคธนานุกูล
กัญญาพัชร สุทธิเกษม
จงจิตต์ ฤทธิรงค์,พรสุรีย์ จิวนานนท์
ปราโมทย์ ประสาทกุล
นงนุช จินดารัตนาภรณ์
เพ็ญพิมล คงมนต์
ศุทธิดา ชวนวัน